บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางนางเบญญาภา ชัยยะ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพระแสงวิทยา
หน่วยงานที่สังกัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ปีการศึกษา 2564
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) นำมาใช้ในการประเมินกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 67 คน นักเรียน จำนวน 313 คน ผู้ปกครอง จำนวน 313 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบทดสอบและแบบสอบถามมีลักษณะ เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.96 ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่าอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการประเมิน ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจ ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระแสงวิทยา อำเภอพระแสง จังหวัด สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จากผลการประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่การจัดทำโครงการโรงเรียนควรกำหนด แนวทางการดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนให้มากยิ่งขึ้น
2. ด้านด้านปัจจัยนำเข้า จากผลการประเมิน พบว่า ครู มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่โรงเรียนควรสนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ จากผลการประเมิน พบว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการติดตามและนำผลการติดตามมาพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบครบวงจรและต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต จากผลการประเมิน พบว่า ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่คุณภาพการบริหารสถานศึกษา ควรมีการพัฒนาให้โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น
5. จากการประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการ มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ควรมีการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียนและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และควรเพิ่มการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นและหลากหลาย