วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านแม่อมกิ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านแม่อมกิ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านแม่อมกิ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านแม่อมกิ จำแนกตามตัวแปรการดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านแม่อมกิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครู) นักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 524 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 : 608-609) ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านแม่อมกิ จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่อมกิ จำนวน 8 คน เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่อมกิ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่อมกิ ในปีการศึกษา 2564 ประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 166 คน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม
สรุปผลการศึกษา
ตอนที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่าประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผู้ตอบแบบประเมินโครงการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สรุปได้ว่าเป้าหมายของโครงการต้องมีความชัดเจน สอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์และ เป้าหมายของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน และตอบสนองความต้องการของ ชุมชนท้องถิ่น
1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมา คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผู้ตอบแบบประเมินโครงการแสดงความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ สรุปได้ว่า การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนนั้นต้องดำเนินการทั้งระบบ คือ ความร่วมมือของบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในด้านงบประมาณ หนังสือ วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และการนิเทศกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ให้ดียิ่งขึ้น
1.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมา คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผู้ตอบแบบประเมินโครงการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอ แนะสรุปได้ว่า ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมตลอดจนถึงการประเมินผลโครงการอย่างชัดเจนและเหมาะสม โดยมีการนำผลการประเมินโครงการ ในแต่ละครั้ง มาวางแผนเพื่อพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้น
1.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก นักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผู้ตอบแบบประเมินโครงการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สรุปได้ว่า ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และจูงใจ ในการเรียนรู้ของนักเรียน