ส่วนที่ 1: บทสรุปของผู้บริหาร
ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา รหัส 1170100010 ที่ตั้ง เลขที่ 253 หมู่ 10 ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โทรศัพท์ 0-3232-3347 โทรสาร 0-3232-3346 Website: www.darunawitaed.ac.th ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2540 เปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 976 คน จำนวนบุคลากรของโรงเรียน 108 คน
ตอนที่ 2 การนำเสนอผลการประเมินตนเอง
ระดับปฐมวัย
1. มาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ยอดเยี่ยม
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ยอดเยี่ยม
1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ยอดเยี่ยม
1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ยอดเยี่ยม
1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ยอดเยี่ยม
2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ยอดเยี่ยม
2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ยอดเยี่ยม
2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ยอดเยี่ยม
2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ ยอดเยี่ยม
2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู ยอดเยี่ยม
2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ยอดเยี่ยม
3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ยอดเยี่ยม
3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ยอดเยี่ยม
3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ยอดเยี่ยม
3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็ก ไปปรับปรุง
การจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินระดับปฐมวัย ยอดเยี่ยม
2. หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ
2.1 ปัจจุบันโรงเรียนจัดการศึกษาอยู่ในมาตรฐานการศึกษา ระดับ ยอดเยี่ยม
2.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญาระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ค่าคะแนนเฉลี่ย 94.30
2) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน พ.ศ. 2562 - 2564
3) แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2564
4) แผนการจัดประสบการณ์ของครูตามหลักสูตร 2560
5) แผนจัดประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
6) แผนจัดประสบการณ์บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
7) บันทึกหลังสอนและผลการจัดประสบการณ์พร้อมภาพถ่าย
8) รายงานสรุปโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานประจำปี
9) แฟ้มสะสมผลงานเด็กและชิ้นงานของเด็ก
10) แฟ้มผลงานผู้บริหารและครูระดับปฐมวัย
11) สรุปและแบบบันทึกการนิเทศครู
12) ตราพระราชทานใน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ปีการศึกษา 2561 2565
13) เล่มรายงานผลการดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย จำนวน 20 การทดลอง
14) เกียรติบัตรครูและนักเรียนจากการแข่งขันภายนอกและการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ เกียรติบัตรเหรียญทอง จากการแข่งขันกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน และเกียรติบัตรเหรียญทองการแข่งขันกิจกรรมการพูดภาษาอังกฤษ จากการแข่งขันทางวิชาการและการประกวดสิ่งประดิษฐ์นักเรียนโรงเรียนเอกชน ครั้งที่ 6 ปีการศึกษา 2564 และเกียรติบัตรเหรียญทองกิจกรรมกายบริหาร เกียรติบัตรเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันกิจกรรมการเล่านิทานประกอบสื่อ และกิจกรรมการพูดบรรยายหัวข้อ ปฎิบัติตนอย่างไร ให้ห่างไกลจากโควิด จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2564
15) เกียรติบัตรครูและผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนเอกชนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2564 จากกระทรวงศึกษาธิการ เกียรติบัตรเหรียญทองประเภทครูผู้สอนนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบสื่อ กิจกรรมการพูดบรรยายหัวข้อ ปฏิบัติตนอย่างไรให้ห่างไกลจากโควิด และกิจกรรมกายบริหาร จากสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดราชบุรี รวมทั้งได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่น เกียรติบัตรครูดีศรีสังฆมณฑลราชบุรีและเกียรติบัตรครูดีของหนู จากศูนย์วิชาการสังฆมณฑลราชบุรี
3. โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองต่อไปอย่างไรให้ได้ระดับคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ
3.1 แผนปฏิบัติงานที่ 1 จัดหาวิทยากร /ส่งบุคลากรครูไปร่วมอบรม สัมมนา เกี่ยวกับกระบวนการจัด
กิจกรรมการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.2 แผนปฏิบัติงานที่ 2 สำรวจชุมชน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กมากขึ้น ทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
3.3 แผนปฏิบัติงานที่ 3 จัดหาวิทยากร/ส่งครูไปอบรม/สัมมนา งานประกันคุณภาพการศึกษา หรือที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้คำแนะนำครูและบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4. นวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี
4.1 แรงบันดาลใจแห่งบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
4.2 การพัฒนาการและความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนระดับปฐมวัย
5. ความโดดเด่นของสถานศึกษา
5.1 เด็กร่าเริงแจ่มใส กล้าพูดและสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ชัดเจน คล่องแคล่วเหมาะสมตามวัย
5.2 ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยนำอุปกรณ์/สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาจัดการเรียนการสอน ได้เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อเน้นการสอนวิทยาศาสตร์แบบการทดลอง มีการใช้ระบบหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสองภาษา รวมทั้งมีการนำ PDCA เข้ามาใช้ในการจัดการบริหารอย่างเป็นระบบครอบคลุมทั้ง 5 ฝ่าย
5.3 ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอทั้งด้านวิชาชีพ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษโดยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2564
6.1 จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรูเชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคลองกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
6.2 ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลาย ตามบริบทของพื้นที่
6.3 พัฒนาผู้เรียนให้ทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูให้มากขึ้น
6.4 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรูและทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
6.5 พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
6.6 ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรูไดอย่างมีประสิทธิภาพ
6.7 ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยกระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด
6.8 พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู
6.9 เสริมสร้างการรับรู ความเข้าใจ ความตระหนักและส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.10 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สามารถเป็นอาชีพและสร้างรายได
6.11 สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
6.12 พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรูที่จำเป็นเพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)
6.13 ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan: EIDP)
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.1.1 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ดีเลิศ
1.1.2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ยอดเยี่ยม
1.1.3 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ยอดเยี่ยม
1.1.4 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยอดเยี่ยม
1.1.5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ดี
1.1.6 มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ยอดเยี่ยม
1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอดเยี่ยม
1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ยอดเยี่ยม
1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ยอดเยี่ยม
2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจนท้องถิ่น ยอดเยี่ยม
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ยอดเยี่ยม
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย ยอดเยี่ยม
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ยอดเยี่ยม
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยอดเยี่ยม
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ยอดเยี่ยม
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ยอดเยี่ยม
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ยอดเยี่ยม
3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม
สรุปผลประเมินระดับพื้นฐาน ยอดเยี่ยม
2. หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ
2.1 ปัจจุบันโรงเรียนจัดการศึกษาอยู่ในมาตรฐานการศึกษา ระดับ ยอดเยี่ยม
2.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) ผลการประเมินพัฒนาการผู้เรียน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 93.21 ซึ่งเป็นผลรวมการประเมินที่ได้จาก 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 82.51 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 100 ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 93.32 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 90.46 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 74.24 ความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 98.09
2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด คิดเป็นร้อยละ 98.09 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย คิดเป็นร้อยละ 99.52 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 98.25 และสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมคิดเป็นร้อยละ 97.62
2) ผลการประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษ จากแบบทดสอบของ Oxford Placement Test ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับ A1 ขึ้นไป ร้อยละ 100.00 มัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ A2 ขึ้นไป ร้อยละ 50.00 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับ B1 ขึ้นไป ร้อยละ 25.00
3) ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 67.45 คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 58.60 วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 47.23 และภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย 81.38 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 69.99 คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 44.50 วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 39.04 และภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย 58.04 ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนทุกคนไม่มีความประสงค์เข้าร่วมการทดสอบ ซึ่งผลคะแนนเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับสังกัดและระดับประเทศ
4) ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100
5) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100
6) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน พ.ศ. 2562 - 2564
7) แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2564
8) แผนการจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
9) แผนจัดประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
10) บันทึกหลังสอนและผลการจัดการเรียนการสอน
11) รายงานสรุปโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานประจำปี
12) แฟ้มสะสม รูปถ่าย ผลงานและชิ้นงานของผู้เรียน
13) แฟ้มผลงานผู้บริหารและครูระดับขั้นพื้นฐาน
14) สรุปและแบบบันทึกการนิเทศครู
15) เกียรติบัตรครูและนักเรียนจากการแข่งขันภายนอกและการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ ด้านภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ซึ่งรางวัลภาษาไทย ได้แก่ กิจกรรมประกวดอ่าน ฟังเสียงภาษาไทยกิจกรรมปริศนาร้อยกรอง (ผะหมี่) กิจกรรมขับร้องบทเพลงเกี่ยวกับวรรณคดีไทย ส่วนรางวัลด้านภาษาต่างประเทศ ได้แก่ กิจกรรม การแข่งขัน English Quiz การแข่งขันเล่านิทาน (Story Telling) การแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) การแข่งขัน Spelling Bee กิจกรรม Multi Skills Competition กิจกรรม Singing Contest เกียรติบัตรการแข่งขันด้านคณิตศาสตร์ จากหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ด้านสาระวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การแข่งขัน Coding ด้านสาระคณิตศาสตร์ ได้แก่ การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ นอกจากนั้นเป็นเกียรติบัตรจากการแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ Big Bei (Guangong Hongkong _Macao Greater Bay Area Mathematical Olympiad Heat Round 2020 -2021) การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ HKIMO (Hong Kong International Mathematical Olympiad Heat Round 2021) การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ AIMO 2021 Final (Asia International Mathematical Olympiad Open Contest) การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ ITMC 2021 (International Talent Mathematics Contest)การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ WMI 2021 (2021 World Mathematics Invitational Final Round) การแข่งขันคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 9 Professional Math Talent Hunt Algebra Professional Math Talent Hunt Geometry Professional Math Talent Hunt Number Theory Professional Math Talent Hunt Combinatorics ด้านศิลปะ เช่น การแข่งขันวาดภาพระบายสี ส่วนด้านดนตรี เช่น กิจกรรมขับร้องบทเพลงเกี่ยวกับวรรณคดีไทย กิจกรรม Singing Contest ด้านสุขศึกษาและ พลศึกษา เช่น การแข่งขันตอบปัญหาสุขศึกษาและพลศึกษา
16) เกียรติบัตรสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ 4 คน และ วิชาคณิตศาสตร์ 3 คน จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
17) โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภาคกลาง โดยประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564 จาก สำนักงานกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
18) เกียรติบัตรครูและผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนเอกชนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2564 จากกระทรวงศึกษาธิการ เกียรติบัตรเหรียญทองประเภทครูผู้สอนนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบสื่อ กิจกรรมการพูดบรรยายหัวข้อ ปฏิบัติตนอย่างไรให้ห่างไกลจากโควิด และกิจกรรมกายบริหาร จากสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดราชบุรี รวมทั้งได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่น เกียรติบัตรครูดีศรีสังฆมณฑลราชบุรีและเกียรติบัตรครูดีของหนู จากศูนย์วิชาการสังฆมณฑลราชบุรี
3. โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองต่อไปอย่างไรให้ได้ระดับคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ
3.1 แผนปฏิบัติงานที่ 1 จัดหาวิทยากร /ส่งบุคลากรครูไปร่วมอบรม สัมมนา เกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 แผนปฏิบัติงานที่ 2 จัดหาวิทยากร/ส่งครูไปอบรม/สัมมนา งานประกันคุณภาพการศึกษา หรือที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้คำแนะนำครูและบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3.3 แผนปฏิบัติงานที่ 3 การพัฒนาตนเองของครูอย่างสม่ำเสมอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลของครูผู้สอน
4. นวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี
4.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับและพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
4.2 เปี่ยมใจ เปี่ยมธรรม
4.3 การพัฒนาการและความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4.4 การพัฒนาคุณภาพระดับทักษะทางภาษาอังกฤษของครูผู้สอน (CEFR: Common European
Framework of Reference for Languages)
5. ความโดดเด่นของสถานศึกษา
5.1 ผู้เรียนทักษะการพูด ฟัง อ่านและเขียนเพื่อการสื่อสารตามระดับชั้นของตนเองได้อย่างเหมาะสมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความสุภาพอ่อนน้อม อยู่ในวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ร่วมสมัยยอมรับความคิดเห็นของทุกวัยด้วยเหตุผล รวมถึงการมีจิตสาธารณะจิตสาธารณะและรู้จักแบ่งปัน สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
5.2 ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำและความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนานักเรียนโดยนำอุปกรณ์/สื่อและเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพื้นฐานวิศวกรรมและพลังงานทดแทนที่ทันสมัยเข้ามาเพื่อจัดการเรียนรู้ มีการใช้ระบบหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสองภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้นวัตกรรม รวมทั้งมีการนำ PDCA เข้ามาใช้ในการจัดการบริหารอย่างเป็นระบบครอบคลุมทั้ง 5 ฝ่าย
5.3 ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอทั้งด้านวิชาชีพ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษโดยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2564
6.1 จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรูเชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคลองกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
6.2 ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลาย ตามบริบทของพื้นที่
6.3 พัฒนาผู้เรียนให้ทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูให้มากขึ้น
6.4 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรูและทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
6.5 พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
6.6 ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรูไดอย่างมีประสิทธิภาพ
6.7 ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยกระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด
6.8 พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู
6.9 เสริมสร้างการรับรู ความเข้าใจ ความตระหนักและส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.10 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สามารถเป็นอาชีพและสร้างรายได
6.11 สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
6.12 พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรูที่จำเป็นเพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)
6.13 ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan: EIDP)