การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู แหล่งข้อมูล 1) ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน จำนวน 3 คน ที่เคยได้รับรางวัลด้านการสอน ได้แก่ รางวัลคุรุสภา รางวัลคุรุสดุดี รางวัลครูผู้สอนดีเด่น รางวัลครูในดวงใจ เป็นต้น หรือรางวัล การสอนระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือระดับเครือข่าย และ 2) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ผู้สอนในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอห้วยเม็ก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 16 โรงเรียน รวมจำนวนครูผู้สอน 76 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอห้วยเม็ก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 รวมจำนวนครูผู้สอน 30 คน ประกอบด้วยโรงเรียนห้วยเม็กราษฎร์นุกูล จำนวน 8 คน โรงเรียนหน่อคำประชานุเคราะห์ จำนวน 4 คน โรงเรียนบ้านกุดท่าลือ จำนวน 5 คน โรงเรียนบ้านทรายทองวิทยาคม จำนวน 13 คน และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ผู้สอนในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอห้วยเม็ก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 16 โรงเรียน รวมจำนวนครูผู้สอน 76 คน และ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอห้วยเม็ก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอบรม การพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวนครูผู้สอน 30 คน ประกอบด้วยโรงเรียนห้วยเม็กราษฎร์นุกูล จำนวน 8 คน โรงเรียนหน่อคำประชานุเคราะห์ จำนวน 4 คน โรงเรียนบ้านกุดท่าลือ จำนวน 5 คน โรงเรียนบ้านทรายทองวิทยาคม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู
1.1 องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 5) การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ
1.2 แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน และผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview)สรุปผลการสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ประกอบด้วย หลายแนวทางที่ต้องใช้ร่วมกัน คือ การใช้ระยะเวลาในการพัฒนา การพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ซึ่งการจัดกิจกรรมดำเนินการพัฒนาครูเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างการยอมรับร่วมกันระยะ ที่ 2 การสร้างความรู้สู่การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ระยะที่ 3 ปฏิบัติการพัฒนาบทเรียนร่วมกันมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ขั้นที่ 2 การวางแผนบทเรียนขั้นที่ 3 การสอนและสังเกตในชั้นเรียน ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลหรือการอภิปรายร่วมกัน และขั้นที่ 5 ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการขยายผลการศึกษา กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม ภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์ใช้ความรู้ การร่วมเรียนรู้และร่วมมือรวมพลัง การมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายร่วมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และเงื่อนไขการสนับสนุน และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกันโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ มีดังนี้ 1) ครูต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน จากเดิมที่วางแผนการจัดการเรียนรู้ และทำการสอนด้วยตนเองเพียงลำพัง เปลี่ยนมาเป็นการทำงานแบบร่วมมือร่วมพลัง โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้และทำการสอนร่วมกันกับเพื่อนครู 2) ครูยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น ปรับทัศนคติ และเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ จากความคิดเห็นที่หลากหลาย และ 3) ครูต้องเห็นคุณค่าของตนเอง คุณค่าของผู้เรียนและเพื่อนร่วมงานมากยิ่งขึ้น
2. สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล
2.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความถูกต้อง(Accuracy) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้ (Feasibility) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความถูกต้อง (Accuracy) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ (Feasibility) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอบรมพบว่า คะแนนทดสอบก่อนการอบรม คะแนนรวม 384 ร้อยละ 64.00 ค่าเฉลี่ย 12.80 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.03
4. ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.1 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Pre-test) และ (Post-test) มีคะแนนทดสอบหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอบรม การพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ก่อนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอบรมการพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ก่อนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูของครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอบรม การพัฒนาครูด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ก่อนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด