การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ
โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกช์ (MIA)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
นางแก้วตา โคตรงาม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกช์ (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้จัดทำ นางแก้วตา โคตรงาม
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมอ่านจับใจความ วิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกช์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติมอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการที่นักเรียนได้รับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับเทคนิคเมอร์
ดอกช์ (4) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนจำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 15 ชุด ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการสอนของครู ได้แก่ แบบบันทึกเหตุการณ์ขณะทำการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน และแบบทดสอบย่อยหลังจากเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความแต่ละเรื่อง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัยทั้งหมด 3 วงจร ดังนี้ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 5 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 10 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบไปด้วย แผนการเรียนรู้ที่ 11 15 และเมื่อสิ้นสุดในแต่ละวงจรผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนและหนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความ วิชาภาษาอังกฤษ ในวงจรปฏิบัติการต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบที (ttest) คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความร่วมกับเทคนิคเมอร์
ดอกช์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.85/90.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความร่วมกับเทคนิคเมอร์
ดอกช์ วิชาภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7622 แสดงว่า กิจกรรมการเรียนรู้และหนังสืออ่านเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.22
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่ได้รับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนอ่านจับใจความตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์ในปีการศึกษา 2563 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
 
ประกาศคุณูปการ
การวิจัยครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก นายบุญธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสามเหลี่ยม รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย ชลธี อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธี แก้วแสนชัย อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.พงษ์ศักดิ์ บุญประคม ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ดร.ลักษณา เถาว์ทิพย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Mr.Mark Sanderson ครูเจ้าของภาษาอังกฤษ โรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขอขอบคุณครอบครัวของผู้วิจัย ที่ให้ความสนับสนุนพร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนให้ข้อคิด และให้กำลังใจแก่ผู้วิจัยตลอดมา ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
แก้วตา โคตรงาม