การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ Ban Salasong โรงเรียนบ้านศาลาสอง ปีการศึกษา 2563 - 2564 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียน บ้านศาลาสอง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 3) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านศาลาสองหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 ดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 3.2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3.3) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ Ban Salasong โรงเรียนบ้านศาลาสอง ปีการศึกษา 2563 - 2564
กลุ่มป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ครู กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นครูระดับชั้นอนุบาล ได้กลุ่มตัวอย่าง
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 21 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน 3)นักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2563 จำนวน 106 คน และปีการศึกษา2564 จำนวน 96 คน เนื่องจากผู้เรียนในชั้นดังกล่าวสามารถอ่านเนื้อหาและสื่อข้อความจากแบบสอบถามได้ดีกว่าชั้นอื่น 4) ผู้ปกครองนักเรียน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 77 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 65 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 3 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.18
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ Ban Salasong โรงเรียนบ้านศาลาสอง ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2564 หลังการพัฒนาโดยภาพรวม
ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพ
ผู้เรียนโรงเรียนบ้านศาลาสอง หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง การศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2564 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนศาลาสอง ภายหลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของ
นักเรียนโรงเรียนบ้านศาลาสองชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2563
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 73.84 และเมื่อดำเนินการโดยใช้กลยุทธ์
Ban Salasong ในปีการศึกษา 2564 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น มีคะแนนรวมเฉลี่ย 76.56
โดยมีค่าพัฒนา 2.72 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 35.16 ปีการศึกษา 2564 โดยมีค่าเฉลี่ย 32.25
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 24.91 ปีการศึกษา 2564
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 27.43 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2564 สูงขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับชั้น สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของนักเรียนปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 80.74 และปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ย 87.89 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา มีผลการทดสอบอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 80 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของนักเรียนปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 90.96 และปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ย 95.94 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา มีผลการทดสอบอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 80 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ Ban Salasong โรงเรียนบ้านศาลาสอง ปีการศึกษา 2563 - 2564
พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2564 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมากที่สุดสอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
1.1 สถานศึกษาควรนากลยุทธ์ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของสถานศึกษาตนเอง
ซึ่งการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติควรมีการประชุม วางแผน ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคลากรใน
โรงเรียน จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการ
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน จัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานตามแผนงาน
โครงการต่างๆ ตามแผนกลยุทธ์ นิเทศ ติดตามผลการดาเนินงานตามกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง มีการ
ประเมินผลสำเร็จของกลยุทธ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ และควรจัดทาคู่มือการดาเนินงานตามกลยุทธ์
1.2 หลังการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนควรมีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ การใช้กิจกรรมโครงงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความถาวรของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านอื่นๆ หรือให้ครอบคลุมคุณภาพผู้เรียนทุกด้านตามกรอบการประเมินคุณภาพเพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
2.2 ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์ใช้วางแผนหรือจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมและดำเนินการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในโอกาสต่อไป