การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning สำหรับ
ครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ของ
ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 2)สร้างคู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับการศึกษาภาคบังคับแบบ Active Learning ปีการศึกษา 2562 3) เพื่อใช้แนวการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning สำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับ
(ฉบับปรับปรุง) ปีการศึกษา 2563 และ4) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
ด้วย Active Learning ปีการศึกษา 2564 โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์
ของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 แหล่งข้อมูลได้แก่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนๆละ 1 คน รวม185 คน เครื่องมือที่ใช้
จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale) เก็บรวบรวม
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ตามระบบราชการและผู้วิจัยเก็บรวบรวม
ข้อมูลด้วยตนเองเป็นบางส่วน รวบรวมข้อมูลได้ร้อยละ 89.19 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย(x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างคู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาภาคบังคับ
แบบ Active Learning ปีการศึกษา 2562 แหล่งข้อมูลได้แก่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนๆละ 1 คน รวม185 คน เครื่องมือที่ใช้
ได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาภาคบังคับแบบ Active
Learning ในปีการศึกษา 2562 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดการเรียนรู้
โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาภาคบังคับแบบ Active Learning 3) แบบสอบถามครูผู้สอน
โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาภาคบังคับ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ
ค่า 5 ระดับ (Rating Scale) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์
ตามระบบราชการและผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเป็นบางส่วน รวบรวมข้อมูลได้ร้อยละ
94.05 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
ขั้นตอนที่ 3 การใช้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active
Learning สำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับ (ฉบับปรับปรุง) ปีการศึกษา 2563 จากการ
ทดลองใช้ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมต้องมีการปรับปรุง ผู้วิจัยจึงได้
ปรับปรุงชื่อและแยกโครงงานออกเป็น 3 เล่ม โดยปรับเป็น แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน
วิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning สำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับ (ฉบับปรับปรุง)
ปีการศึกษา 2563 และได้นำไปใช้ในปีการศึกษา 2563 แหล่งข้อมูลได้แก่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนๆ ละ 1 คน รวม185 คน เครื่องมือที่ใช้
ได้แก่ 1) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning สำหรับครูผู้สอน
ระดับการศึกษาภาคบังคับ (ฉบับปรับปรุง) ปีการศึกษา 2563 โครงงานประเภทสำรวจ ประเภท
ทดลอง และประเภทสิ่งประดิษฐ์2) แบบประเมินความเหมาะสมของแนวการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning สำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับ ปี
การศึกษา 2563 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3) แบบสอบถามครูผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์ปีการศึกษา
2563 เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์โดยส่ง
หนังสือขอความอนุเคราะห์ตามระบบทางราชการและผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเป็นบางส่วน
ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 91.35 วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย(x̄)และค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active
Learning ปีการศึกษา 2564 แหล่งข้อมูลได้แก่ 1) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนๆ ละ 1 คน รวม 185 คน 2) นักเรียนได้จากการเลือกแบบ
เจาะจง (Purposive Selection) โดยเลือกจากนักเรียนที่มีโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน 131 โรงเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน 54 โรงเรียน ๆ ละ 3
คนรวมทั้งสิ้น 555 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสอบถามครูผู้สอน จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็น
แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ 2) แบบสอบถามนักเรียนจำนวน 1 ฉบับ
มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งหนังสือ
ขอความอนุเคราะห์ตามระบบทางราชการและผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเป็นบางส่วน ได้รับ
แบบสอบถามคืนจากครูร้อยละ 85.95 และจากนักเรียนร้อยละ 85.94 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา
ค่าเฉลี่ย(x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา
2561 พบว่า
1.1 ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาภาคบังคับ มีคุณวุฒิระดับปริญญา
ตรีมากที่สุดร้อยละ 59.22 และสูงกว่าระดับปริญญาตรีร้อยละ 40.78 สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นๆ
ร้อยละ 53.40 ส่วนสำเร็จสาขาวิทยาศาสตร์ร้อยละ 46.60
1.2 ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์
อยู่ในระดับปานกลาง
1.3 สภาพการจัดกิจกรรมการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนอยู่ใน
ระดับปานกลาง
2. ผลการสร้างคู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาภาคบังคับ
แบบ Active Learning ในปีการศึกษา 2562 พบว่า
2.1 ผลการพิจารณาคู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์แบบ Active
Learning โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า คู่มือโครงงานฯ ที่ใช้ในปัจจุบันรวมอยู่ในเล่มเดียวกันทั้ง 3
ประเภท ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน แต่มีความเห็นสอดคล้องกัน ในเรื่องการแยกคู่มือ
โครงงานฯ ออกจากกัน โดยแยกออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะของโครงงาน
2.2 ความเหมาะสมของคู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์แบบ Active
Learning โดยครูผู้สอน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการแยกคู่มือโครงงานฯ
ออกจากกันโดยแยกออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะของโครงงาน และความเหมาะสมที่อยู่ในระดับ
น้อย ได้แก่ คู่มือโครงงานฯ ที่ใช้ในปัจจุบันรวมอยู่ในเล่มเดียวกันทั้ง 3 ประเภทไม่เหมาะสม
2.3 ข้อมูลพื้นฐานของครูผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาภาคบังคับ
พบว่า ครูผู้สอนจบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 41.95 ส่วนสาขาอื่น ๆ ร้อยละ 58.05
ประสบการณ์การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ 5 ปีลงไปร้อยละ 41.38 ระหว่าง 6 10 ปีร้อยละ
44.83 และประสบการณ์ตั้งแต่ 11 ปี ร้อยละ 13.79 ครูสอนเฉพาะกลุ่มสาระฯ/รายวิชา
วิทยาศาสตร์ร้อยละ 35.01 สอนตั้งแต่ 2 กลุ่มสาระฯ/รายวิชาขึ้นไป ร้อยละ 64.99
2.4 ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับการศึกษาภาคบังคับแบบ Active Learning ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ความรู้ความเข้าใจ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.5 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์แบบ Active Learning
ปีการศึกษา 2562 ของครูผู้สอน พบว่า ครูดำเนินการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก
2.6 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์แบบ Active Learning
ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานอยู่ในระดับมาก
3. ผลการใช้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning
สำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาภาคบังคับปีการศึกษา 2563 (ฉบับปรับปรุง) เป็นผลมาจากการ
ทดลองใช้ในปีการศึกษา 2562 ที่ต้องมีการปรับชื่อและแยกโครงงานออกเป็นประเภทละ 1 เล่ม
ผลการวิจัยพบว่า
3.1 ผลการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาของผู้ทรงคุณวุฒิ9 คน พบว่าโครงงาน
ประเภทสำรวจ(ฉบับปรับปรุง) โครงงานประเภททดลอง(ฉบับปรับปรุง) และโครงงานประเภท
สิ่งประดิษฐ์ (ฉบับปรับปรุง) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ได้
3.2 ความเหมาะสมของของแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
ด้วย Active Learning ปีการศึกษา 2563 (ฉบับปรับปรุง) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ9 คน พบว่า โครงงาน
ประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง และโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ มีความเหมาะสมอยู่ใน
ระดับมากทั้งสามโครงงาน
3.3 ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน
วิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก
3.4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning
ของครูผู้สอนในปีการศึกษา 2563 พบว่า ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากทั้งสาม
โครงงานได้แก่ โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง และโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
3.5 ผลที่เกิดกับนักเรียนในการเรียนรู้ โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning
ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ผลที่เกิดกับนักเรียนอยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning
ในปีการศึกษา 2564 พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน
วิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลที่เกิดกับนักเรียนจากการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active
Learning ตามความเห็นของครูอยู่ในระดับมาก
4.3 นักเรียนที่เรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning ในปีการศึกษา
2564 พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน
วิทยาศาสตร์ และด้านความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากทั้ง
สามด้าน