ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อม
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 6 ปี)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายโท 9
ชื่อผู้วิจัย นางสุภาพ วงษาจันทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายโท 9
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 - 6 ปี) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 - 6 ปี) ระหว่างก่อนและหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัส กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 6 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายโท 9 สังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 กิจกรรม และแบบประเมินการเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 - 6 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายโท 9 สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีประสิทธิภาพ 86.25/86.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 - 6 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายโท 9 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05