ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์โรงเรียน สู่ความยั่งยืน โรงเรียนบ้านบางเนียง
ผู้วิจัย นางวรรณา แก้วชื่น
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์โรงเรียน สู่ความยั่งยืน โรงเรียนบ้านบางเนียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์โรงเรียน สู่ความยั่งยืน โรงเรียนบ้านบางเนียง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (ContextEvaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 384 คน ประกอบด้วย นักเรียน 183 คน ผู้ปกครอง 183 คน ครู 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 314 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 149 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบางเนียง จำนวน 149 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านบางเนียง จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านบางเนียง จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 11 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 4 ฉบับ รวม จำนวน 17 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตของครอนบาร์ค และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.4 ระดับความเหมาะสมของการจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.5 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด โดยมีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของการดำเนินกิจกรรม พบว่า การดำเนินกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามการดำเนินกิจกรรม พบว่า การติดตามการดำเนินกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด โดยมีตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความรู้เรื่องมารยาทดี มีวินัย ใฝ่ความพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องมารยาทดี มีวินัย ใฝ่ความพอเพียง เพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีมารยาทดี พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีมารยาทดีเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 นักเรียนมีวินัย พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีวินัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 นักเรียนใฝ่ความพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนใฝ่ความพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.5 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.8 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของงบประมาณ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรดำเนินการโดยมีการวางแผนก่อนการดำเนินการให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบท ร่วมมือกันหาแหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ ทั้งนี้จะทำให้การดำเนินโครงการมีความคล่องตัว เรียนรู้อย่างมีบรรยากาศที่ดี รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการ