การประเมินโครงการเรื่อง: การประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model
ผู้ประเมิน: อ่อนจันทร์ นุชบูรณ์
สถานศึกษา: โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 9
ปีที่ประเมิน: 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ การประเมิน CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท (Context evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 2) เพื่อประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 4) เพื่อประเมินโครงการผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 5) เพื่อประเมินโครงการด้านผลกระทบ (Impact evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 6) เพื่อประเมินโครงการด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 7) เพื่อประเมินโครงการด้านความยั่งยืน (Sustainability evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 8) เพื่อประเมินโครงการด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของสตัฟเฟิลบีม และชิงค์ฟิลด์ ฟิลด์ (Stufflebeam & Shinkfield. 2007 อ้างใน รัตนะ บัวสนธ์. 2556: 87 98)
ผู้ประเมินศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินโครงการ แล้วสังเคราะห์เป็นรูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของสตัฟเฟิลบีม และชิงค์ฟิลด์ (Stufflebeam and Shinkfied. 2007 อ้างใน รัตนะ บัวสนธ์. 2556: 87 98) ทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability evaluation) และ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation) โดยมีการประเมิน 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนดำเนินโครงการ ได้แก่ ด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) 2) ระยะระหว่างดำเนินโครงการ ได้แก่ ด้านกระบวนการ (Process evaluation) และ 3) ระยะหลังดำเนินโครงการ ได้แก่ ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability evaluation) และด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation)
ขั้นตอนที่ 2 ประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model
ผลการประเมิน ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และที่มีค่าน้อยสุด คือ ความต้องการจำเป็นของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และที่มีค่า น้อยสุด คือ ความต้องการจำเป็นของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation: I) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านความเพียงพอและความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และที่มีค่าน้อยสุด คือ ความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านความเพียงพอและความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และที่มีค่าน้อยสุด คือ ความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านการปฏิบัติตามแผน (Implementation) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กระบวนการวางแผน (Planning) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน กระบวนการวางแผน (Planning) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติตามแผน (Implementation) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) ของวัตถุประสงค์โครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 3 ข้อ ดังนี้
4.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการเสพยาเสพติดของนักเรียน
สรุปผลการแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเสพยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 212 คน โดยรวมผลการทดสอบก่อนเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.91 หลังเรียนได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.78 เมื่อจำแนกเป็นรายชั้น พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบ หลังเรียนสูงสุด ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.00 รองลงมาคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผล การทดสอบหลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.53
4.2 พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน
ผลการสังเกตพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน โดยครูผู้สอน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ในการปฏิบัติบ่อยครั้งมากที่สุด ร้อยละ 85.27 โดยผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากยาเสพติด ในการปฏิบัติบ่อยครั้งที่สุด ร้อยละ 85.48 และโดยนักเรียน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ในการปฏิบัติบ่อยครั้งที่สุด ร้อยละ 85.96 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
4.3 เจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน
สรุปผลการวัดเจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน สำหรับครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จากการประเมินโดยครูผู้สอน ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยอย่างยิ่งและมีการปฏิบัติเป็นประจำ แต่ละระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด จากการประเมินโดยผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยอย่างยิ่งและมีการปฏิบัติเป็นประจำ แต่ละระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด จากการประเมินโดยนักเรียน ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยอย่างยิ่งและมีการปฏิบัติเป็นประจำ แต่ละระดับชั้นผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกตัวชี้วัด
5. ผลการประเมินโครงการด้านผลกระทบ (Impact evaluation: I) ของโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ประเมิน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
6. ผลการประเมินโครงการด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation: E) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการดำเนินโครงการ การป้องกันปัญหา ยาเสพติดในสถานศึกษา เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ประเมิน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
7. ผลการประเมินโครงการด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation: E) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการดำเนินโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ประเมิน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
8. ผลการประเมินโครงการด้านถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation: T) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการดำเนินโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ประเมิน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด