การศึกษาวิจัยถึงพัฒนารูชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว
ผู้วิจัย นางนัยน์ปพร วงษาทองอนันต์
ปีที่ประเมิน 2563
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยถึงพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว 2. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว และ 3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว กลุ่มตัวอย่างใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอกู่แก้ว ในปีพ.ศ. 2563 จำนวน 40 คน บุคลากร และครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน หน่วยงานเครือข่าย จำนวน 20 คน และและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรในอำเภอกู่แก้ว จำนวน 20 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 101 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ และการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการการสุ่มแบบเจาะจง ให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายทุกกลุ่ม จำนวน 22 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากผู้นำชุมชนและเครือข่าย จำนวน 8 คน ผู้แทนบุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 6 คน ผู้แทนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพร จำนวน 4 คน และผู้แทนผู้เรียนจากพื้นที่บริการทั้ง 4 ตำบล จำนวน 4 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว และการประชุมเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสรรค์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตาม เพศ อายุ สถานะ ซึ่งเป็นตรวจสอบรายการ (Check list) และตอนที่ 2 เป็น
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว ในด้านการมีส่วนร่วมในการปรับแนวคิด การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา การมีส่วนร่วมในการหาแนวทางวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
การวิจัยครั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และเชิงอุปนัย (Analytic Induction) จากการสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฎิบัติการ
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว ใน 2 องค์ประกอบ ได้แก่ กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนและวิธีดำเนินการ และ เงื่อนไขความสำเร็จและแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปรับแนวคิด การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา การมีส่วนร่วมในการหาแนวทางวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งผลการสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดการศึกษา และเครือข่าย ชุมชน รวมทั้งผู้เรียน ได้เห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วม และเห็นถึงคุณค่าในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งควรดำเนินกิจกรรมโยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งทั้งผ็นำชุมชน และหน่วยงานเครือข่ายต่างได้มีการกำหนดโครงการ กิจกรรมในแผนงานเพื่อส่งเสริมใช้ประชาชนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของสมุนไพร และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โรคไวรัสโควิด 19 ระบาดทุกฝ่ายเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัย
2. ผลการวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น รับฟังและหาข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งพบว่า ในขั้นการสร้างความรู้ จากการประชุมร่วมกันผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรเป็นพื้นฐานเบื้องต้น เคยนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้าน เป็นต้น ขั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในอนาคต จากการประชุมที่ประชุมเสนอรูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้ในรูปแบบของการเชิญมาร่วมให้ความรู้ และเชิญมาร่วม
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใน กศน.ตำบลทุกแห่ง และในพื้นที่สาธารณประโยชน์ เป็นต้น ขั้นการสร้างแนวทางปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ด้านพืชสมุนไพร โดยในที่ประชุมกำหนดกิจกรรมซึ่งเป็นรูปแบบที่จะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา เช่นการนำพืชสมุนไพรไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปจำหน่าย เป็นต้น
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 52.48 มีอายุระหว่าง 26 35 ปี จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 46.53 มีสถานะเป็นผู้แทนจากชุมชน จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 39.60 และผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพรมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกู่แก้ว โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 มีความคิดเห็นระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปรับแนวคิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ระดับคุณภาพดี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการดำเนินการในการสร้างจิตอาสา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และด้านวิธีการดำเนินการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางการวางแผนงาน มีค่าเฉลี่ย 3.28 มีระดับความคิดเห็นปานกลาง ตามลำดับ