บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้
ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80, 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้
ความเข้าใจก่อนและหลังศึกษา ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์
เขต 2, 3) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัด
การเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2, 4) เพื่อศึกษาผลการนิเทศของครูผู้สอนหลังศึกษา
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้น
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 และ 5) เพื่อศึกษาผล
การประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ เรื่อง
การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2
ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง
การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ที่
ได้มาจากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้
ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความเหมาะสมของชุดการเรียนรู้
และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความ
แตกต่างของความรู้ความเข้าใจ โดยการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ขั้นตอนที่ 2 การนิเทศ
หลังการศึกษาชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยของกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรลาดยาว สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 จำนวน 13 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมจำนวน 13 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินผลการนิเทศ และแบบประเมินความ
พึงพอใจหลังการนิเทศ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีค่า
ประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 84.96/83.10 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครู
ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สูงกว่าก่อนศึกษาชุดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของ
ครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินการนิเทศของครูผู้สอนหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีทักษะ
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้น
ประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรและ
บริบท ครูผู้สอนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการวัดและประเมินผล
ภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมาก และด้านแนวทางการ
จัดการเรียนรู้ ทักษะและเทคนิคการสอนในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับ
มาก ตามลำดับ
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศหลังศึกษาชุดการเรียนรู้
เรื่อง การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการนิเทศแบบ Coaching มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับ
มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการนำไปใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ด้านแผนการนิเทศการศึกษาแบบ
Coaching มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านเนื้อหาของการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ