การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการการดำเนินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ซึ่งการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหาในการประเมินโครงการ 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินคือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า ในภาพรวมครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่าในภาพรวมครูมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า ในภาพรวมครูมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4. ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย
4.1 ผลการประเมินความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูตามโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อของโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัย
ในชั้นเรียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยภาพรวมมีความเห็นว่า มีความพึงพอใจอยู่
ในระดับ มากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4.3 ผลการประเมินคุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนมีผลการประเมินตามระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยมจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 และมีคุณภาพระดับ ดีเด่น จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 95.23
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผล
การเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2563 เทียบกับปีการศึกษา 2564 จำนวน 42 โรงเรียน พบว่า โรงเรียนที่มีนักเรียนที่เรียนวิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น จำนวน 27 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 64.28 ของโรงเรียนที่เข้ารับการอบรม