ความเป็นมาของปัญหาวิจัย : วรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงมีคำศัพท์และเนื้อหาที่ค่อนข้างเข้าใจยากผู้เรียนไม่เข้าใจถึงความลึกซึ้งของถ้อยคำ แปลความไม่ถูกต้องทำให้เข้าใจผิดเพี้ยนและเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงทำให้คะแนนต่ำ
คำถามวิจัย : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีพัทลุง ได้สูงขึ้นเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง ก่อน และหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5
โรงเรียนสตรีพัทลุงที่มีต่อจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์
ตัวแปรในการวิจัย : ตัวแปรต้น - การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์
ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลง
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย : ได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง ตามแบบแผนการวิจัย คือ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest
เครื่องมือวิจัย : 1. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง
2. ห้องเรียนออนไลน์ วรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลง
2.1 โคลงสี่สุภาพ
2.2 การแปลความ ตีความ และขยายความ
2.3 การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
2.4 ตัวอย่างการแปลความ ตีความ ขยายความ และวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
3. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง นิราศนรินทร์คำโคลง
4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสตรีพัทลุง
ผลการวิจัย : -การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องนิราศนรินทร์คำโคลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
-ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก