บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ๕ เทคนิค (KAREH Model) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสามพรานวิทยา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสามพรานวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๓ และปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสามพรานวิทยา ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ ๕ เทคนิค (KAREH Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น นักเรียนที่เรียนในวิชา วิทยาการคำนวณ โรงเรียนสามพรานวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ ปีการศึกษา ๑/๒๕๖๓ เป็นกลุ่มควบคุมจำนวน ๓๗ คน และนักเรียนที่เรียนในวิชา วิทยาการคำนวณ ระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑ ปีการศึกษา ๑/๒๕๖๔ เป็นกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือการจัดการเรียนการสอนแบบ ๕ เทคนิค จำนวน ๓๗ คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ๑) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย 5 เทคนิค (KALEH Model) ๒) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา วิทยาการคำนวณ ๓) แบบตรวจสอบรายการความรับผิดชอบ รายวิชา วิทยาการคำนวณ (เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายห้องเดียว แล้วทำแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ) ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย ๕ เทคนิค (KALEH Model)
การวิเคราะห์ข้อมูล การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนสามพรานวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ และปีการศึกษา ๒๕๖๓ ที่ใช้นวัตกรรม ๕ เทคนิค (KAREH Model) ใช้สถิติค่าทดสอบ T และ Z ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติ T-Score และ Z-test หาคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการเรียนวิชา วิทยาการคำนวณ และหาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบ ๕ เทคนิค (KALEH Model) โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย X ̅ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พร้อมทั้งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือผ่านโปรแกรม (SPSS)
ผลการศึกษา พบว่า
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสามพรานวิทยา
ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๓ คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี ๒๕๖๓ = ๔๙.๔๑ และคะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี ๒๕๖๔ = ๕๖.๗๕ คะแนนทีเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน = ๑๔.๘๖
๒. คะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการเรียนวิชา วิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบ ๕ เทคนิค (KALEH Model) สู่การแก้ปัญหาการเรียนการสอนช่วง Covid ๑๙ (KALEH Model) หลังเรียนสูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๓ คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี ๒๕๖๓ = ๔๖.๖๒ และคะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี ๒๕๖๔ = ๕๐.๐๐ คะแนนทีเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน = ๖.๖๕
๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบ ๕ เทคนิค (KALEH Model) สู่การแก้ปัญหาการเรียนการสอนช่วง Covid ๑๙ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (X ̅) ในแต่ละเทคนิคของ KALEH Model ประกอบด้วย K = ๒๒.๗๐ , A = ๒๓.๕๔ , L = ๓๑.๓๘ , E = ๒๓.๕๔ , H = ๒๑.๐๓ โดยคิดคะแนนเป็นร้อยละ ๙๐.๕๑