บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดงครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ระบบการบริหารจัดการ และกิจกรรมที่ดำเนินการ ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ และร้อยละของการกำกับติดตามโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ ทักษะการอ่าน ทักษะการคิดวิเคราะห์ ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) นิสัยรักการอ่าน ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 86 คน ผู้ปกครองจำนวน 86 คน คณะกรรมการสถานศึกษาและครู จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ฉบับ แบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบบันทึก จำนวน 3 ฉบับ รวม 16 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่อ้างอิงใช้ t-Test สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา α หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของ Cronbach ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุด มี 2 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านผลผลิต และผ่านเกณฑ์ในระดับมาก 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท และปัจจัยนำเข้า ผลประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัดสรุปผล ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
1.2 ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.2 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.3 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.4 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.5 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัด มีดังนี้
3.1 ตัวชี้วัดกิจกรรมที่ดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2 ตัวชี้วัดการกำกับติดตามโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นผลผลิต ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ตัวชี้วัดทักษะการอ่าน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.2 ตัวชี้วัดทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.3 ตัวชี้วัดผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) พบว่า ร้อยละของค่าความต่างของคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.4 ตัวชี้วัดนิสัยรักการอ่าน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.5 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.6 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.7 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก