บทคัดย่อ
เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดควน
อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้ประเมิน นางสาวปราณี ช่วยชู
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดควน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 21 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน รวม 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 3ฉบับ และแบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ได้จากประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปี6วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนด้านบริบทจากความคิด
เห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือโครงการตอบสนองต่อการศึกษาต่อของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.85 รองลงมา คือ โครงการมีความจำเป็นและสำคัญต่อนักเรียน และวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.81 และ 4.75 ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการตอบสนองนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.33
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนด้านปัจจัยนำเข้าจากความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพ
รวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ย4.86รองลงมา คือ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรต่างๆในชุมชนและบุคลากรมีเจตคติที่ดีต่อโครงการ โดยมีค่าเฉลี่ย4.66 และ 4.57 ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ จำนวนบุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอมีค่าเฉลี่ย 3.37 รองลงมา คือ อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการตามโครงการมีความเหมาะสมและมีบุคลากรเพียงพอ โดยมีค่าเฉลี่ย 3.71 และ 3.73 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ด้านกระบวนการจากความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมนักเรียนอ่านออก เขียนได้คิดเลขเป็นยกชั้นเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.85 รองลงมา คือ กิจกรรมสอนซ่อมเสริม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และกิจกรรมนิเทศ ติดตามตัวชี้วัด สิ่งที่ต้องรู้ ควรรู้ในการจัดการเรียนการสอนโดยมีค่าเฉลี่ย 4.77 และ 4.76 ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการดำเนินงานตามปฏิทินของโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.07 รองลงมา คือ กิจกรรมท่องสูตรคูณ และการศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาในการพัฒนาก่อนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ย 4.14 และ4.31 ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดควน จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 ผลปรากฎว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.24 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 เฉลี่ยร้อยละ 23.53 และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 40.48 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 เฉลี่ยร้อยละ 6.8 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้