บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงบัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยการสอนอ่านจับ ใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน โรงเรียนบ้านดงบัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรอิสระ(Independent Variables)ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาที่ 4 การวิจัยอยู่ระหว่าง เดือนธันวาคม 2563 ถึง มกราคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทดลอง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยวิธีการทางสถิติเบื้องต้นได้แก่ ผลรวม ค่าเฉลี่ย เฉลี่ยร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิจัยการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงบัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
1.1 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงบัง จำนวนทั้งสิ้น 10 คน
1.2 ผลการทดสอบวัดความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน พบว่านักเรียน 10 คน ทำแบบทดสอบ
ก่อนการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่ามีนักเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์
1.3 ผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน พบว่านักเรียน 10 คน ทำแบบทดสอบ
หลังเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่ามีนักเรียนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100
1.4 การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.00 คะแนน และ 25.65 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนรวมก่อนเรียน 150 คะแนน เฉลี่ยก่อนเรียน 15.08 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนที่ 3.29 คะแนนรวมหลังเรียน 253 คะแนน เฉลี่ยหลังเรียน 25.33 เฉลี่ยร้อยละหลังเรียน 84.44 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนที่ 1.32
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.51 )
การอภิปรายผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลมาอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้
1. ผลการจัดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ 1 การเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงบัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ที่พบว่านักเรียนมีการพัฒนาการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการวิจัยพบว่า ข้อความเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นไปตามสมมุติฐาน
ผู้วิจัยมีความเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่ใช้วิธีสอนที่สอนด้วยนวัตกรรมแบบฝึกทักษะ และมีทักษะกระบวน
การเรียนรู้ทั้งสิ้น ดังนั้นแบบฝึกทักษะ จึงเป็นนวัตกรรมที่เป็นสากลสำหรับนักเรียนและครูโดยทั่วไป