การประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ในการประเมิน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
1) คุณภาพการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ครอบคลุม4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพการบริหารจัดการ คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคุณภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และคุณภาพการพัฒนาบุคลากร 2) คุณภาพของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ครอบคลุม 3 องค์ระกอบ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างใช้ในการ ประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 101 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 97 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และครูจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อแต่มั่นละฉบับอยู่ระหว่าง .782 - .903 ผู้รายงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences) for Windows Version 26 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ(Percentage)
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564
1.ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.41, S.D. = .47) ได้ รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄= 4.35, S.D.= .38) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และความเหมาะสมของอาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการและความเหมาะสมของหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.22, S.D. .67) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผนการดำเนินงาน (Plan) การดำเนินการจัดกิจกรรม (Do) การติดตามและประเมินผล (Check) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา (Action) โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.46, S.D. = .63) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄ = 4.30, S.D.= .70) ได้ และกลุ่มผู้ปกครอง ( x̄ = 4.24, S.D. = .76) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.54, S.D. = .62) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.45, S.D. = .66) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.35, x̄= .75) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 คุณภาพศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 4.49, S.D. = .62) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄= 4.43, S.D.= .75) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄ = 4.39, S.D. = .73) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.34, S.D. = .70) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.44, S.D. = .68) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( x̄ = 4.42, S.D. = .73) และกลุ่มครู (x̄= 4.41, S.D.= .74) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x̄ = 4.29, S.D. = .85) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน