การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 2) เพื่อศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามรูปแบบการบริหาร PDCA โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 4) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามรูปแบบการบริหาร PDCA โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้มาจากวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 96 คน ประกอบด้วย 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 65 คน 4) คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารงานสถานศึกษา จำนวน 9 คน 5) ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน 6) สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดงา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทัก สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียน ลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียนลาดงาวิทยาคม (ปลั่ง ฤกษ์จารี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตามรูปแบบการบริหาร PDCA ก่อนและหลังดำเนินการในภาพรวม พบว่า ก่อนดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการดำเนินการ มีร้อยละความก้าวหน้า โดยเฉลี่ยร้อยละ 77.60
3.1 ด้านการวางแผนการมีส่วนร่วม พบว่า ก่อนดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการดำเนินการ มีร้อยละความก้าวหน้าสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 79.58
3.2 ด้านการปฏิบัติตามแผนการมีส่วนร่วม พบว่า ก่อนดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการดำเนินการ มีร้อยละความก้าวหน้าสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 77.50
3.3 ด้านการตรวจสอบการมีส่วนร่วม พบว่า ก่อนดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการดำเนินการ มีร้อยละความก้าวหน้าสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 77.84
3.4 ด้านการแก้ไขปรับปรุงการมีส่วนร่วม พบว่า ก่อนดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการดำเนินการ มีร้อยละความก้าวหน้าสูงกว่าก่อน การพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 77.99
4. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
4.1 ด้านการวางแผน (Plan) โรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการวางแผนการระดมทรัพยากร โดยกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนในการระดมทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม แต่งตั้งคณะกรรมการปรึกษาการระดมทรัพยากรทางการ มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญกับการวางแผนการระดมทรัพยากร และเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) ควรเพิ่มทักษะ เพิ่มศักยภาพของบุคลากรเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียน และสรรหาบุคลากรให้เพียงพอในการปฏิบัติตามแผนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาในการการระดมทรัพยากรตามกรอบงาน 4 ฝ่ายของสถานศึกษา เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และมีการจัดทำเครือข่ายใน การระดมทรัพยากรจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ประกอบด้วย เครือข่ายรุ่นของศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน
4.3 ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) ควรมีหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ชุมชน ภาคเอกชน เข้ามีส่วนในการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและภูมิทัศน์ และจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ในการจัดการเรียนการสอนโดยงบประมาณของชุมชนเอง ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเปิดโอกาสให้ชุมชน ในรูปแบบคณะกรรมการการติดตามผลการดำเนินงาน เข้าร่วมตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่าย และการดำเนินงานงบประมาณ เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
4.4 ด้านการปรับปรุงแก้ไข (Act) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงกิจกรรมระดมทรัพยากรทางการศึกษา ความขาดแคลน และความต้องการของโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการประชุมชี้แจงเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา และหาแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการระดมทรัพยากร จัดทำคู่มือการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา และรายงานผลการดำเนินงาน ของสถานศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อแจ้งแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ