งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์ใจ บรรจงพินิจ
รายวิชา ภาษาไทย
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยเกิดความคิดที่จะพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยาให้ดีขึ้น จึงจัดทำแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอนขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ความสามารถทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ดีขึ้น และหวังว่าการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญนี้จะสามารถพัฒนาความสามารถ ในการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอนให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะในการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 /80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนทดลองใช้แบบฝึกทักษะในการอ่าน
จับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ปีการศึกษา 2562
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ปีการศึกษา 2562
ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีนักเรียนทั้งหมด 3 ห้อง จำนวน 123 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียน บ้านฉางกาญจนกุลวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562 ใช้นักเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคละความสามารถ นักเรียนที่สอนมีสภาพปัญหาคล้ายกัน คือมีปัญหาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9
3. ระยะเวลาในการวิจัย
ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2562 ระหว่างเดือน สิงหาคม กันยายน 2562 โดยใช้เวลาทดลอง 12 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย 50 นาที ทั้งนี้รวมเวลาทดสอบก่อนเรียน การปฐมนิเทศและทดสอบหลังเรียน
วิธีการดำเนินการศึกษา
การดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต18 นักเรียน 3 ห้องเรียน จำนวน 123 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต18 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้จาก
การเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Selection )
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. สร้างแบบฝึกทักษะการจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน โดยดำเนินการดังนี้
1.1 ศึกษาตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางในการทำแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยดำเนินการดังนี้
1.3 ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียน
1.4 รวบรวมคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียน
1.5 นำคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียนที่รวบรวมมาสร้างเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน
1.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนมาปรับความยากง่ายให้เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
1.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา แล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ ( IOC) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
2. ขั้นตอนการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน
2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
2.2 ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นหลักในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
2.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้
2.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา แล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ ( IOC) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาแล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ ( IOC) แล้วนำมา ปรับปรุงแก้ไข
2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปทดสองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มทดลอง
3. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนก่อนเรียนและหลังเรียน โดย ดำเนินการดังนี้
1.1 ศึกษาตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการทำแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยดำเนินการดังนี้
1.3 ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียน
1.4 รวบรวมคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียน
1.5 นำคำประพันธ์ที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับนักเรียนที่รวบรวมมาสร้างเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน
1.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนมาปรับความยากง่ายให้เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
1.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนและแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา แล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ
(IOC) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข การดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนไปทดสอบก่อนเรียน กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2. ดำเนินการสอนกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน แผนละ 50 นาที 3. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอนไปทดสอบหลังเรียน กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 4. นำข้อมูลที่ได้จาก
การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการหาค่าทางสถิติเพื่อทดสอบ สมติฐานที่ตั้งไว้
สรุปผลการวิจัย
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน มีความเหมาะสมมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.6 5 โดยมีความเหมาะสมมากในทุกหัวข้อในการแสดงความคิดเห็น
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจากที่ ได้รับฝึกทักษะโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความมากกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่ง เป็นไปตามสมมุติฐาน
การอภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาพบว่า คะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน หลังเรียนด้วยการ ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน สามารถพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ประเภทกลอน สามารถทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำเร็จ และอาจนำไปพัฒนาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนกับนักเรียนที่อยู่ระดับชั้นอื่น ๆ ได้
2. ผู้ที่จะทำการวิจัยในครั้งต่อไปอาจนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเพื่อต่อยอดการศึกษาได้