บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประกอบด้วย คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 62 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 138 คนและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 138 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 338 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ประเมินโดยคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านบริบทมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านผลผลิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด ได้แก่ ด้านกระบวนการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.1 ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ด้านบริบท ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด รองลงมา ได้แก่ แต่งตั้งกรรมการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียน และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การสำรวจความพร้อมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการในการฝึกทักษะอาชีพ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ กําหนดคุณสมบัติของครูและบุคลากร ที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนสำหรับการฝึกทักษะอาชีพ มีความเหมาะสม และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ มีความเหมาะสม ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ด้านกระบวนการ ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ไว้อย่างชัดเจน รองลงมา ฝึกทักษะกระบวนการ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ตามวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้แก่นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการอย่างเป็นระบบทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ด้านผลผลิต ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับ ความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความอดทน รองลงมา ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานโครงการฝึกทักษะอาชีพ ให้หน่วยงานต้นสังกัด และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านทักษะอาชีพได้ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตอนที่ 2. ผลการประเมินโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ด้านผลผลิต ประเมินโดยนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความซื่อสัตย์ สุจริต รองลงมา ได้แก่ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการมีระเบียบวินัยในตนเอง และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ มีรายได้ระหว่างเรียน ทุกข้อมีระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการฝึกทักษะอาชีพ (อะโวคาโด โอเค) โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ และคุณภาพของนักเรียนหลังจากที่เข้าร่วมโครงการ ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รองลงมา ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายได้ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน