ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ผู้รายงาน: นางวชิรา แสนโกศิก
ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดด่านช้าง
ปีการศึกษา: 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์
เชิงเหตุผล ของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริง
ของโครงการ ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง 3) ประเมินการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ ของสเตค (Stakes Countenance Model) ประเมินในด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 493 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ แล้วสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน รวม 11 คน เพื่อให้คำตอบของการประเมินชัดเจนขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์
สรุปผล
1. ผลการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง แยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวัง
จากโครงการในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินความสอดคล้องความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวัง
จากโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการ หรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนวัดด่านช้าง ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง
ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ทั้ง 3 ด้าน ตามเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดไว้ที่
ร้อยละ 75 ขึ้นไป