บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม 2.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองเป็นกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 28 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาทดลอง 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการเรียนจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า 2AC-ONE-E-Model จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ ในระดับมากที่สุด ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Arouse interest: A) 2) ขั้นที่ 2) สำรวจความรู้ (The process of exploring knowledge :E) 3) ขั้นปรับความคิด (adjusting ideas, creating concepts :C) 4) ขั้นสร้างแนวคิดประยุกต์ใช้ (Applying, Reflecting :A) 5) ขั้นสะท้อน สรุปองค์ความรู้ด้วยการประเมินผล (Concluding knowledge with evaluation :C )
2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถามอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ:, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม, 2AC-ONE-E-Model
Abstract
This research has the main objectives: 1) To develop the learning management model, social studies course S32103 Using constructivist theory as a base. Integrating question techniques to improve critical thinking skills for 5th graders of secondary school. 2) To study the results of the trial of the learning management model, Social Studies Program S32103 using constructivist theory as a base, integrating questioning techniques and developing critical thinking skills for 5th graders of secondary school. 2.1) to study the students academic achievement by using pre-study and post-study tests in geography S32103 using constructivist theory as a base, integrating questioning techniques and developing critical thinking skills for 5th graders of secondary school. 2.2) to study the 5th grade students critical thinking capability in pre and post study geography S32103 applying constructivist theory as a base, integrating questioning techniques and developing critical thinking skills. 2.3) to survey the students satisfaction toward the theory used in learning geography S32103. This research and development is based on a single group of experiments. Pre-school and post-study tests. The sample was 28 students in grade 5/2, Nanggiu Wittayasan School, Khao Suan Kwang District, Khon Kaen Province, 28 students studying in semester 2, 2020. And took 18 hours to experiment. Research instruments include: Learning Management Plan Academic Achievement Test Analytical thinking and student satisfaction assessment tests. Data analysis using average statistics, standard deviations, and content analysis.
The results showed that :
1) The learning style manages learning using constructivist theory as a base. Integrating questioning techniques to improve critical thinking skills for fifth graders, named 2AC-ONE-E-Model, expert inspections found that the patterns were appropriate and consistent with all elements. At the highest level, the key elements are: 1) Arouse interest 2) Objective 3) Learning management process, in which the learning management process consists of 5 steps: 1) Arouse interest: A 2) The process of exploring knowledge :E 3) adjusting ideas, creating concepts :C 4) Applying, Reflecting :A 5) Concluding knowledge with evaluation :C
2) Results used the learning management model, The results showed that
2.1) Students achieved statistically significantly higher academic achievement than
before class at .01.
2.2) The learner has statistically significant critical thinking capabilities at .01.
2.3) Students are satisfied with the learning management style. Social Studies
Program S32103 Using constructivist theory as a base. Integrating question techniques is at the highest level.
Keywords:, Constructivist theory is based on integrating questioning techniques, 2AC-ONE-E-Model.