ชื่อผู้วิจัย นางลัดดาวัลย์ นิลพันธ์
ปีที่การศึกษา 2564
คำสำคัญ การประเมินโครงการ,ทักษะอาชีพ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประยุกต์ใช้แบบจำลองการประเมินโมเดลซิปป์ ( CIPP Model ) วัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 และ4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 307 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ส่วนด้านที่มีผลการประเมินน้อยที่สุดคือด้านผลผลิต ส่วนผลการประเมินโครงตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและนักเรียน ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วยเกี่ยวข้อง
2.ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
3.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
4.ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมทักษะ
อาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
5.ผลการประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน อยู่ในระดับมาก