บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะทางด้านดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมทักษะนักเรียนทางด้านดนตรีไทยของโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 290 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 135 คน ครูผู้สอนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 20 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) จำนวน 135 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 206 คน นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 85 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ครูผู้สอนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 18 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) จำนวน 103 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบวัดทักษะโดยการสังเกต จำนวน 2 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ รวม จำนวน 10 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ทักษะทางด้านดนตรีไทยของนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่านักเรียนมีทักษะทางด้านดนตรีไทยของนักเรียนเป็นรายบุคคล ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.2 ความสามารถในการบรรเลงร่วมวงดนตรีไทยของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่านักเรียนมีความสามารถในการบรรเลงร่วมวงดนตรีไทยของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.3 การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่านักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.4 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.5 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นความสามารถในการบรรเลงร่วมวงดนตรีไทยของนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินค่อนข้างต่ำ จึงควรชี้แจงให้ครูผู้สอนหาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้บรรเลงร่วมวงดนตรีไทยให้มากขึ้น ใช้เวลาว่างในช่วงหลังเลิกโรงเรียนในการรวมกลุ่มเพื่อร่วมวงดนตรีไทยเพื่อผลประโยชน์ของนักเรียน รวมทั้งเพิ่มทักษะทางด้านดนตรีไทยให้มากขึ้น สร้างความตระหนักให้กับนักเรียนและครูมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมเพื่อได้ทราบถึงคุณภาพผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาใน การเรียน
2. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากร ผ่านเกณฑ์การประเมินเพียงระดับปานกลาง เท่านั้น จึงควรมีการชี้แจงสร้างความตระหนักให้ครูผู้รับผิดชอบให้สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะนักเรียนทางด้านดนตรีไทยได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย จัดหาบุคลากรให้เพียงพอต่อกิจกรรมโดยเชิญวิทยากรท้องถิ่นมีส่วนร่วม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทางานร่วมกัน โดยจัดกลุ่มครูที่มีประสบการณ์รวมกับครูบรรจุใหม่ รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ