บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยมีขอบเขตเนื้อหาของการประเมินอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินได้แก่ นักเรียน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 50 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 17 คน ครูสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 17 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean : μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : σ) และแบบทดสอบการวัดความรู้ด้านพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ด้านผลผลิต มีรายละเอียดดังนี้
5.1 ผลสำเร็จของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 พบว่า ผลการประเมินตามความคิดเห็นของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับความเหมาะสม 3.51 ขึ้นไป
5.2 ผลการวัดความรู้ด้านพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของโรงเรียนบ้านพุหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 พบว่า อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.59 และระดับผ่าน ร้อยละ 29.41 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และจำแนกเป็นรายทักษะ พบว่า ในการวัดความรู้ด้านพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะที่มีผู้ตอบถูกมากที่สุด คือ ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปส กับสเปส และสเปสกับเวลา คิดเป็นร้อยละ 88.24 รองมาได้แก่ ทักษะการคำนวณ ทักษะการสังเกต ทักษะการพยากรณ์ ทักษะการสังเกต และทักษะการสื่อความหมายข้อมูล เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 82.35 และน้อยที่สุดคือ ทักษะจำแนก คิดเป็นร้อยละ 70.59
5.3 ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านพุหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย, พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์