ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

1 ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

2 ชื่อผู้ประเมิน นายมณู ดีตรุษ

3 ความเป็นมาและความสำคัญ

การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ เสริมสร้างสติปัญญา พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการประกอบชีพที่สุจริต และเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพของประเทศชาติซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน การศึกษาพัฒนามนุษย์ให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากความจำเป็นด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุกๆ ด้านของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิต ในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงยิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วยในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง และให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนด้านอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการจ้างงานทั้งภาคธุรกิจบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ที่กำลังขยายตัวในทุกภาคส่วน กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่ผลิตกำลังคน จำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ให้นักเรียนหันมาสนใจเรียนทางด้านอาชีพ ซึ่งมีตลาดรองรับมากขึ้น แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบัน ค่านิยมของผู้ปกครองและผู้เรียนมุ่งที่จะเรียนทางด้านสามัญเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้ขาดกำลังคนในภาคแรงงานเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาควบคูกันไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านสามัญและอาชีพ และสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันที การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพถือเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับตลาดแรงงาน สามารถผลิตกำลังคนในระดับฝีมือที่ได้มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องจัดการอาชีวศึกษาอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้แก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานตามความถนัดและความสนใจ และเข้าเรียนอาชีวศึกษาง่ายขึ้น ด้วยการขยายวิชาชีพและกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวศึกษาได้อย่างทั่วถึง อันเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่กันไปทั้งการศึกษาทางสามัญและทางวิชาชีพ โดยจัดให้มีห้องเรียนอาชีพร่วมกัน มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การจัดหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถทำได้ หรือประกอบอาชีพได้ และรูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนรู้อาชีพที่จัดเป็นหน่วยการเรียน โดยกำหนดให้เรียนในรายวิชาพื้นฐาน หรือวิชาเลือก ซึ่งผู้เรียนสามารถนับและเก็บหน่วยกิต เพื่อนำไปศึกษาต่อในสายอาชีพทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

การจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้แก่ประชาชน โดยกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นผลิตผู้มีสมรรถนะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ ในลักษณะของการศึกษาตลอดชีวิต โดยเป็นการจัดการศึกษา และฝึกอบรมอาชีพโดยจัดแบบเปิด หรือยืดหยุ่น เพื่อให้ได้หน่วยสมรรถนะของอาชีพ

ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้จัดการเรียนรู้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และนอกจากนั้นได้จัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้แก่ประชาชนที่มีความต้องการ และนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว

การประเมินโครงการไม่ใช่เป็นการมุ่งตรวจสอบหรือจับผิดการทำงาน หรือการดำเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง แต่การประเมินจะช่วยทำให้ข้อมูล (data) ที่มีอยู่ให้กลายเป็นสารสนเทศ (information) ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจแก่ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาโครงการ ขยายหรือยกเลิกโครงการ ดังนั้นการดำเนินงานในแต่ละโครงการจึงจำเป็นต้องอาศัย สารสนเทศจากการประเมินเป็นข้อมูลสำคัญตลอดระยะเวลาในการดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศดังกล่าว เพื่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการพัฒนาโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงการนี้จึงสมควรได้รับการประเมินโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุง ผลการประเมินโครงการที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อพิจารณาถึงส่วนดี ส่วนบกพร่อง และส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไขของการจัดการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และรายละเอียดของการประเมินที่ได้จากการประเมินโครงการนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้รับผิดชอบได้ตัดสินใจในการปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง

4 วัตถุประสงค์ของการประเมิน

เพื่อประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในด้านต่างๆ คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ

5 กรอบแนวคิดการประเมิน

ในการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินมุ่งศึกษา การประเมินจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบการประเมิน 4 ด้าน ตามแบบจำลองซิป (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) ในการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพราะเป็นรูปแบบการประเมินที่ให้ความสนใจต่อการจัดโครงการ รูปแบบการประเมินซิปช่วยในการหาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินโครงการ เพราะเป็นการประเมินอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ในการประเมินโครงการต่างๆ และรูปแบบการประเมินซิปให้ความต่อเนื่องในการเก็บข้อมูลและทางเลือกที่เป็นประโยชน์ ข้อมูลการตัดสินใจ สรุปข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยมีรูปแบบการประเมิน ดังนี้

1 การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (context evaluation : C) เป็นการประเมินให้ได้ข้อมูลสำคัญ เพื่อช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นการตรวจสอบว่าโครงการที่จะทำสนองปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แท้จริงหรือไม่ วัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การหรือไม่ เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ในแง่ของโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ หรือไม่ เป็นต้น

การประเมินสภาวะแวดล้อมจะช่วยในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องใด โครงการควรจะทำในสภาพแวดล้อมใด ต้องการจะบรรลุเป้าหมายอะไร หรือต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะอะไร เป็นต้น

2 การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน (input evaluation : I) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน เป็นต้น

การประเมินผลแบบนี้จะทำโดยใช้เอกสารหรืองานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว หรือใช้วิธีการวิจัยนำร่องเชิงทดลอง (pilot experimental project) ตลอดจนอาจให้ผู้เชี่ยวชาญมาทำงานให้ อย่างไรก็ตาม การประเมินผลนี้จะต้องสำรวจสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด ใช้แผนการดำเนินงานแบบไหน และต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอก หรือไม่

3 การประเมินกระบวนการ (process evaluation : P) เป็นการประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (strengths) และจุดด้อย (weakness) ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ ที่ไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว

การประเมินกระบวนการจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ เพื่อการตรวจสอบการดำเนินของโครงการโดยทั่วไป การประเมินกระบวนการมีจุดมุ่งหมาย คือ

3.1 เพื่อการหาข้อบกพร่องของโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในระหว่างที่มีการปฏิบัติการ หรือการดำเนินงานตามแผนนั้น

3.2 เพื่อหาข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ

3.3 เพื่อการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการ

4 การประเมินผลผลิต (product evaluation : P) ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน คือ

4.1 การประเมินผลผลิต (output) ได้แก่การดำเนินผลตามโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

4.2 ด้านผลกระทบ (impact) ประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จและคุณภาพของผลผลิตตามความพอใจของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

6 ขอบเขตของการประเมิน

ในการประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ศึกษา ดังนี้

1.4.1 การประเมินผลโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต

1.4.2 ประชากรเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน และผู้เรียนในห้องเรียนอาชีพ

1.4.3 ระยะเวลาในการประเมิน ผู้ประเมินได้ใช้เวลาในการประเมินตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2564-เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นเวลา 12 เดือน

7 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การประเมินโครงการ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นกระบวนการ การเก็บรวบรวมข้อมูลของการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย ข้อเท็จจริง ถึงระดับความสำเร็จ ความผิดพลาด ปัญหาอุปสรรค ผลกระทบต่อโครงการอย่างมีระบบ เชื่อถือได้ ในส่วนที่น่าจะไปเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพหรือจะยุติการดำเนินงานโครงการนั้นเสีย

การประเมินโครงการมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศที่สามารถพิจารณาได้ว่าการดำเนินการตามโครงการบรรลุผลมากน้อยตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นๆ มากน้อยเพียงใด และยังสามารถที่จะพิจารณาได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้นั้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินการมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินโครงการจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการเพื่อที่จะปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่สามารถทำได้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถใช้ในการพิจารณาการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามผลการประเมินจะไม่เกิดประโยชน์หากผลการดำเนินโครงการนั้นไม่สามารถนำไปใช้ในเวลาที่เหมาะสม เช่น การประเมินผลเมื่อโครงการสิ้นสุดลง ผู้ประเมินจะได้เฉพาะสารสนเทศตอนสิ้นสุดโครงการเท่านั้น และถ้าผลการประเมินที่ได้จากโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประเมินก็จะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังไปยังช่วงเวลาที่ดำเนินงาน จะได้เพียงความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งยากที่จะยืนยันความถูกต้องของข้อมูล นอกจากนี้ผู้ประเมินจะไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน โครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จทำให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าอะไรคือสาเหตุที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินงานในปีถัดไป การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่จะบ่งชี้ถึงคุณค่าหรือประสิทธิภาพของสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อการบรรลุผลสำเร็จในการบริหารโครงการ สำหรับการประเมินผลโครงการโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาว่า วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุนั้นยังเป็นวัตถุประสงค์ที่ยังมีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องกับสถานการณ์อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการค้นหาวัตถุประสงค์ที่กำหนดเพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผลของแผนงานที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ และกำหนดแนวทางการแก้ไขความล้มเหลวของการปฏิบัติ รวมทั้งเพื่ออำนวยการโดยใช้เทคนิคสำหรับการเพิ่มประสิทธิผลและเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล สำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสมในการดำเนินโครงการยิ่งขึ้นในอนาคต ในด้านประโยชน์ของการประเมินผลโครงการนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น เพื่อใช้ผลจากการประเมินผลโครงการในการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศ จากผลการประเมินโครงการในการวางแผนและตัดสินใจดำเนินโครงการในอนาคต และสามารถเพิ่มความรอบคอบในการตัดสินใจดำเนินโครงการในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งผลการประเมินโครงการสามารถนำผลสำเร็จมาสู่องค์การ และลดอุปสรรคจากการดำเนินโครงการนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้การประเมินผลโครงการยังสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการประเมินผลโครงการจะทำให้ผู้บริหารสามารถศึกษาและวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงงาน และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ปฏิบัติในครั้งต่อไป

กระบวนการประเมินโครงการมีขั้นตอนดังนี้

1) หลักการเหตุผล และความสำคัญของการประเมินโครงการ

2) ประเมินโครงการเพื่ออะไร : การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

3) ประเมินอะไร : การวิเคราะห์โครงการ

4) ประเมินได้อะไร : การออกแบบการประเมิน

5) ข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้างหรือจะได้ข้อมูลเหล่านั้นด้วยวิธีใด

6) จะแยกและย่อสรุปข้อมูลเพื่อให้มีความหมายได้อย่างไร : การวิเคราะห์ข้อมูล

7) ผลการประเมินเป็นอย่างไรจะให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจทราบได้อย่างไร : การเขียนรายงานและการรายงานผลการประเมิน

การประเมินโครงการมีประโยชน์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ และมาตรฐานของการดำเนินงานมีความชัดเจนทำให้องค์กรได้รับประโยชน์เต็มที่ ทำให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผน ดังนั้นเมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดำเนินการไปด้วยดีช่วยการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (impact) ของโครงการ และทำให้โครงการมีข้อที่ทำให้ความเสียหายน้อยลง ทำให้การควบคุมคุณภาพของงาน เพราะการประเมินโครงการเป็นการตรวจและควบคุมชนิดหนึ่ง ช่วยในการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ ทำให้การวางแผนหรือการกำหนดนโยบายของผู้บริหารและฝ่ายการเมืองเป็นสารสนเทศ ช่วยการตัดสินใจในการบริหารโครงการ

สรุปแนวคิดการประเมินโครงการแบบจำลองซิป ได้ดังนี้

การประเมินบริบท หมายถึง การประเมินเกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกโครงการ แต่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ ได้แก่ ความต้องการของชุมชน และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับบริการจากโครงการ จำนวนประชากร กระแสทิศทางของสังคมและการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของชุมชน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับบนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ หมายถึง การประเมินทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการนำมาใช้ในการดำเนินโครงการกำลังคนหรือจำนวนบุคคลที่ต้องใช้งบประมาณแหล่งเงินทุนสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาคารสถานที่ เครื่องมือและครุภัณฑ์การประเมินปัจจัยนำเข้าจะช่วยในการพิจารณาตัดสินใจว่าโครงการนั้นๆ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ และช่วยให้เกิดการวางแผนการจัดกิจกรรมของโครงการได้อย่างเหมาะสม การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมของโครงการ การนำปัจจัยเข้ามาให้เหมาะสมมากน้อยเพียงไรเป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมีอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินผลผลิตของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมของโครงการ การนำปัจจัยเข้ามาใช้เหมาะสมมากน้อยเพียงไร เป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมีอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้น ผลที่ได้รับทั้งหมดจากการดำเนินโครงการได้ผลมากน้อยเพียงใด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลผลิตจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ เพื่อที่จะได้นำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพื่อการตัดสินใจปรับปรุงขยายโครงการนำไปใช้ต่อเนื่องต่อไป และเพื่อล้มเลิกโครงการ

8 วิธีดำเนินการประเมิน

8.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

การประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ศึกษากับประชากรโดยศึกษาจากผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 255 คน และครูผู้สอน 12 คน

กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ประเมินได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด เนื่องด้วยกลุ่มประชากรในแต่ละปีการศึกษามีจำนวนไม่มากเกินไป

8.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ เกี่ยวกับความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน ที่สร้างตามกรอบการประเมิน 4 ด้าน คือ

- ด้านบริบท สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับโครงการ เช่น หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม วิธีดำเนินการ หลักสูตร เป็นต้น

- ด้านปัจจัยเบื้องต้น สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาคารสถานที่ ระยะเวลา สื่อการสอน เป็นต้น

- ด้านกระบวนการ สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศ กำกับ ติดตาม การวัดผลและการประเมินผล ระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น

- ด้านผลผลิต สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้เรียนที่ได้รับหลังการเรียนการสอน

8.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลข้อมูล

นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจหาความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ แล้วดำเนินการจัดทำตามขั้นตอน ทำการบันทึกคำตอบในแบบสอบถาม เพื่อประเมินผล โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) สำหรับแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

5 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มากที่สุด

4 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มาก

3 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ ปานกลาง

2 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อย

1 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อยที่สุด

การหาค่าเฉลี่ยของแต่ละระดับ โดยการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยกำหนดช่วงค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็น เพื่อแปลผลตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1981) มีรายละเอียดดังนี้

4.50-5.00 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ มากที่สุด

3.50-4.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ มาก

2.50-3.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ ปานกลาง

1.50-2.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ น้อย

1.00-1.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ น้อยที่สุด

ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

9 ผลการประเมิน

9.1 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

9.1.1 ข้อมูลทั่วไปของครูผู้สอน

ข้อมูลทั่วไปของครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชายจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 เป็นเพศหญิง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 33.34 ส่วนอายุ อยู่ระหว่าง 40–49 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.34 และอายุต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 ส่วนวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทั้งหมด

9.1.2 ผลการประเมินด้านบริบท

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านบริบท พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ เป้าหมายของโครงการมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด และวิธีการดำเนินโครงการสามารถที่จะปฏิบัติได้จริง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก

9.1.3 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโครงการมีศักยภาพในการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการมีความรู้ความสามารถในการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์มีความเพียงพอในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก

9.1.4 การประเมินด้านกระบวนการ

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านกระบวนการ พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ กิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนสอดคล้องกับเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ระยะเวลาในการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการวางแผนในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีการวัดผล ประเมินผลผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการโครงการมีความชัดเจน เป็นระบบ อยู่ในระดับมาก และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมาก

9.1.5 การประเมินด้านผลผลิต

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านผลผลิต พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนการสอนทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยสอดคล้องกับผู้เรียนทุกคน อยู่ในระดับมากที่สุด และใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ได้ประโยชน์คุ้มค่า อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครูผู้สอน และเพื่อนนักเรียน อยู่ในระดับมาก

9.1.6 ผลการประเมินในภาพรวม

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 2 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก

9.2 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน

9.2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้เรียน

ข้อมูลทั่วไปของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชาย จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 53.50 เป็นเพศหญิง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 46.50 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 13-14 ปี จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 80.60 และอายุระหว่าง 15-16 ปี จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 19.40 ส่วนวุฒิการศึกษาที่กำลังศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 71.00 และอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 29.00

9.2.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในด้านกระบวนการ พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 15 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ครูผู้สอนไม่แสดงการหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากผู้เรียนในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ซึ่งอยู่ในด้านจรรยาบรรณ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ครูผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งอยู่ในด้านจรรยาบรรณ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับต่ำสุดคือ ครูผู้สอนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำกิจกรรมที่น่าสนใจมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งอยู่ในด้านความรู้ความสามารถ อยู่ในระดับมาก

9.2.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในด้านผลผลิต พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ไปปฏิบัติงานได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีระยะเวลาจัดการเรียนการสอนที่ความเหมาะสมกับหัวข้อและเนื้อหาวิชา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นในระดับน้อยสุด คือ เนื้อหาวิชาที่เข้ารับการเรียนรู้ตอบสนองความจำเป็นในการประกอบอาชีพ อยู่ในระดับมาก

9.2.4 ผลการประเมินในภาพรวม

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในภาพรวม พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก

9.3 การประเมินโครงการของครูผู้สอน และผู้เรียน ในภาพรวม

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอน และผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก

10 ข้อเสนอแนะ

จากการประเมินพบสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นแนวทางสำหรับวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย ดังนี้คือ

10.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

10.1.1 ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้ายควรมีการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรอื่นๆ ให้แก่นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

10.1.2 ครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้ายควรที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์ วัสดุฝึกให้เพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในรุ่นต่อๆ ไป

10.1.3 ผู้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นควรมีการเสนอของบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี เอกสารที่แจกให้นักเรียนควรมีคุณภาพ เพื่อผลดีในการจัดการเรียนรู้ในรุ่นต่อๆ ไป

10.1.4 ผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการซ่อมแซมวัสดุ อุปกรณ์จัดการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานได้ เพื่อการจัดการเรียนรู้ในรุ่นต่อๆ ไปที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

10.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป

10.2.1 ควรมีการประเมินผลผลิตของโครงการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เกี่ยวกับสภาพการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จากนักเรียน

10.2.2 ควรมีการประเมินผลหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรอื่นๆ ที่จัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย

10.2.3 หลังจากเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ควรมีการติดตามผลและประเมินผล โดยวิจัยเชิงคุณภาพ หลังการจัดการเรียนรู้

11 เอกสารอ้างอิง

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต

จำเนียร สุขหลาย และคณะ. (2540). แบบจำลอง CIPP. รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและการประเมินโครงการ.

ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมจากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท..

_______. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

นวรัตน์ สุวรรณผ่อง. (2542). การประเมินผลและการเขียนแผนงาน/โครงการด้านสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์.

นิศา ชูโต. (2541). การประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร : เฟรมโปรดักชั่น.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2535). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). การจัดและการบริหารอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2530). การประเมินผลหลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัตนะ บัวสนธ์. (2540). การประเมินโครงการการวิจัยเชิงประเมิน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.

วัลลภ กันทรัพย์. (2541). แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.

สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2545). การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2544). รวมบทความทางการประเมินโครงการชุดรวมบทความ. เล่มที่ 4 พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำราญ มีแจ้ง. (2544). การประเมินโครงการทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). การประเมินโครงการ : หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชี่ยง.

สุภรณ์ สถาพงศ์. (2545). การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารวิชาการ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้น.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey : Prentice Hall

Stufflebeam, D. L. (1990). Systematic evaluation. Boston : Kluwep ijhoffPublishing.

โพสต์โดย มณู ดีตรุษ : [25 พ.ค. 2565 เวลา 07:06 น.]
อ่าน [3176] ไอพี : 1.4.186.210
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,715 ครั้ง
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558

เปิดอ่าน 14,734 ครั้ง
หยุดมโน นร.นามสกุลยาวสุด ยันตัดต่อหลงเชื่อทั้งประเทศ
หยุดมโน นร.นามสกุลยาวสุด ยันตัดต่อหลงเชื่อทั้งประเทศ

เปิดอ่าน 23,769 ครั้ง
เปิดความหมายคำว่า... พ่อ... กับเรื่องดีๆ ที่น่ารู้ในพยัญชนะตัว พ.ทั้ง 6
เปิดความหมายคำว่า... พ่อ... กับเรื่องดีๆ ที่น่ารู้ในพยัญชนะตัว พ.ทั้ง 6

เปิดอ่าน 12,884 ครั้ง
ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้
ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้

เปิดอ่าน 116,828 ครั้ง
ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่

เปิดอ่าน 19,059 ครั้ง
คู่แข่ง 4.0 คือการศึกษาและคุณภาพชีวิต : โดย สุกรี เจริญสุข
คู่แข่ง 4.0 คือการศึกษาและคุณภาพชีวิต : โดย สุกรี เจริญสุข

เปิดอ่าน 15,530 ครั้ง
สะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์แล้วฟังกันไม่รู้เรื่องใช่มั๊ย เรามีทางช่วย
สะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์แล้วฟังกันไม่รู้เรื่องใช่มั๊ย เรามีทางช่วย

เปิดอ่าน 51,556 ครั้ง
ข้าราชการ เกษียณแล้ว.....ได้อะไรบ้างนะ?
ข้าราชการ เกษียณแล้ว.....ได้อะไรบ้างนะ?

เปิดอ่าน 21,795 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก

เปิดอ่าน 53,030 ครั้ง
เทคนิคที่ทำให้คุณเป็นคนฉลาดและมีความจำดี
เทคนิคที่ทำให้คุณเป็นคนฉลาดและมีความจำดี

เปิดอ่าน 13,618 ครั้ง
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย

เปิดอ่าน 11,897 ครั้ง
7 วิธีกินผักแบบไม่ขาดสารอาหาร รับเทศกาลเจ
7 วิธีกินผักแบบไม่ขาดสารอาหาร รับเทศกาลเจ

เปิดอ่าน 23,296 ครั้ง
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์

เปิดอ่าน 15,757 ครั้ง
คลิปน้อง "ธนัช" เด็กไทยอัจฉริยะ ตอน 4 ขวบ เดี่ยวไวโอลิน ที่ยอดวิวตอนนี้ 22 ล้านแล้ว
คลิปน้อง "ธนัช" เด็กไทยอัจฉริยะ ตอน 4 ขวบ เดี่ยวไวโอลิน ที่ยอดวิวตอนนี้ 22 ล้านแล้ว

เปิดอ่าน 17,134 ครั้ง
กราฟิก (Graphic)
กราฟิก (Graphic)

เปิดอ่าน 32,974 ครั้ง
ไข่ขาวสามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวกได้ จริงหรือ?
ไข่ขาวสามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวกได้ จริงหรือ?
เปิดอ่าน 55,189 ครั้ง
โรคหัวใจ เลี่ยงได้ แค่เลือกอาหาร
โรคหัวใจ เลี่ยงได้ แค่เลือกอาหาร
เปิดอ่าน 23,343 ครั้ง
การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยโครงงาน
การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยโครงงาน
เปิดอ่าน 10,021 ครั้ง
ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?
ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?
เปิดอ่าน 13,321 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ