บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน
ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นางเกษรินทร์ แก้วนาม ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยาฐานะ ผู้อำนวยการ
ชำนาญการ โรงเรียนบ้านวังหอน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 ได้แก่
4.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
4.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
4.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ
4.6 ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564
4.7 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหาร)
ข
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 21 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 35 คน ของโรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 รวมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 18 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จำนวน 14 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 13 ข้อ ฉบับที่ 6 แบบประเมินผลผลิตของโครงการด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 7 แบบประเมินผลผลิตของโครงการด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา จำนวน 7 ข้อ ฉบับที่ 8 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ จำนวน 17 ข้อ ฉบับที่ 9 แบบสอบถามความพึงพอใจครูและบุคลากรทาง การศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 ข้อ และฉบับที่ 10 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้าน วังหอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้าน วังหอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
3. ผลการประเมินการดำเนินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 ในด้านผลผลิต (Product) ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเด็นในด้านผลผลิต ได้แก่
ค
4.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.4 ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.7 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังหอน ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป