ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวอัญชลีพร อภินันทน์ถิระ รองผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยยอด
ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานและประเมินด้านผลผลิตโครงการ โดยวัตถุประสงค์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 331 คน กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 97 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 331 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.88 - 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสองกลุ่ม โดยความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.51 , S.D. = .13) รองลงมา คือ ครู ( x̄ = 4.47, S.D. = .22)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ ความเหมาะสมการบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ การติดตาม การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.48 , S.D. = .58) รองลงมา คือ นักเรียน ( x̄ = 4.40 , S.D. = .48) ส่วนความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄ = 4.26 , S.D. = .19)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.47 , S.D. = .54) รองลงมา คือ ครู ( x̄ = 4.43 , S.D. = .43) ส่วนความ คิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄ = 4.39 , S.D. = .33)
4.2 พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสองกลุ่ม โดยความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.54 , S.D. = .49) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง
มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.51 , S.D. = .53)
4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนห้วยยอด จำแนกเป็น
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.01 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนห้วยยอด โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.82 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม.ตรัง กระบี่) โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.83 และระดับประเทศ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.56 แสดงให้เห็นว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนห้วยยอด มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนห้วยยอด โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 26.87 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม. ตรังกระบี่) โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 24.89 ระดับประเทศ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 24.38 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนห้วยยอด มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4.3.3 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 90.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.4 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 98.19 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนทั้ง 4 ประเด็นที่กำหนดของโรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4. ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสี่กลุ่ม โดยความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.62 , S.D. = .49) รองลงมา คือ ครูและผู้ปกครอง ( x̄ = 4.52 , S.D. = .48) ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄ = 4.38 , S.D. = .44)
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ค่าน้ำหนัก 20% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านผลผลิตโครงการ ค่าน้ำหนัก 50% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
สรุปรวมทั้ง 4 ด้านของโครงการ ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรประสานงานขอการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอกให้มากยิ่งขึ้น
2. ควรกำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้เป็นไปตามปฏิทินและขั้นตอนที่กำหนด
3. โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
4. ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน และวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนห้วยยอด
3. ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิปป์โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด เพื่อการยืนยันผล