บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย: การพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนปทุมราชวงศา
ชื่อผู้วิจัย : นายวาทิต เสนสาร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการประเมินผลสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 จำนวนหนึ่งที่ยังมีน้ำหนักและส่วนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนน้ำหนักและส่วนสูงตามเกิน จำนวน 29 คน เริ่มอ้วน 4 คน อ้วน 6 คน ในภาคเรียนที่ 2 มีนักเรียนน้ำหนักและส่วนสูงตามเกิน จำนวน 26 คน เริ่มอ้วน 4 คน อ้วน 9 คน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564
สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานจะมาจากการไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่ควบคุมการบริโภคอาหาร
ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนปทุมราชวงศา เป็นนักเรียนจำนวน 39 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น : การสร้างความตระหนักพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายที่
ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564
2. ตัวแปรตาม : พฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย
สรุป
ผลการวิจัยสรุปได้ต่อไปนี้
1. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักและส่วนสูง พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนปทุมราชวงศา น้ำหนักและส่วนสูงที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 26 คน และไม่ผ่านเเกณฑ์จำนวน 13 คน
2. ผลการเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า นักเรียนส่วนมากจะออกกำลังกาย
กายเมื่ออยู่โรงเรียน เช่น การวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ เมื่อมีเวลาว่าง การเรียนในชั่วโมงพลศึกษา รองลงมาก็มีการออกกำลังกายกับครอบครัวทุกวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์
3. การบริโภคของนักเรียนส่วนมากรับประทานอาหารตามหลักธงโภชนาการทุกวัน แต่ก็ยังมี
นักเรียนบางส่วนที่ยังรับทานขนมกรอบและน้ำอัดลมเมื่ออยู่บ้าน
อภิปรายผล
ผลของนักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักและส่วนสูงเกณฑ์เกินมาตรฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมราชวงศา จำนวน 39 คน จากการว่าเคราะห์ข้อมูล พบว่า เมื่อนักเรียนอยู่โรงเรียนได้มีการออกกำลังกายมากกว่าอยู่ที่บ้าน สำหรับการบริโภคของนักเรียนเมื่ออยู่ที่โรงเรียนได้มีการควบคุมอาหาร เมื่อกับไปที่บ้านนักเรียนไม่มีการควบคุมอาหาร จึงทำให้นักเรียนบางคนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. ครูจะต้องปลูกฝั่งให้นักเรียนออกกำลังกายให้เป็นอย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างน้อยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน โยเฉพาะมีอยู่ที่บ้าน
2. ครูควรชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในเรื่องการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารที่จะทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานได้