การศึกษาของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าและให้ความสนใจการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาเป็นอย่างมากเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเห็นได้จาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 กำหนดให้จัดรูปแบบ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้สอนต้องบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้คุณธรรม และดำรงชีวิต ในสังคม มีความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
ที่ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ปีการศึกษา 2564 นักเรียนไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ ด้วยมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีรูปแบบการจัดการศึกษา ภายใต้นโยบายที่ว่า โรงเรียนหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้ จำนวน 5 รูปแบบ คือ On-Site, On-Air ,On-Hand ,On-Demand และ Online
การเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นวิธีการถ่ายทอดเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ การใช้สื่อหลายๆประเภท(Multimedia) ร่วมกับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่(Alibak M,Talebi H,Neshatdoost H, 2019) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลายหลาย ทันสมัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามความต้องการ ซึ่งการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีความจำเป็นมากในปัจจุบัน เนื่องจากการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะทางด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Care E, 2018) รวมทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 -COVID-19) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข(World Health Organization,2020) ทำให้สถาบันการศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ที่มากขึ้นนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยสื่อที่มีความหลากหลายและมีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้เรียน จดจ่อต่อสิ่งที่สนใจ ทำให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทฤษฎีพฤติกรรม นิยมเป็นอีกทฤษฏีหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่เหมาะสม (ภคณัฏฐ์ บุญถนอม, 2553) สื่อมัลติมีเดียเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่งในการเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียน ตามความสามารถของตนเอง จึงเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการเรียนรู้ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยกระดับการศึกษาให้แก่ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้น (นารีรัตน์ ศรีสนิท, 2558) ซึ่งหากผู้เรียนได้รับการเสริมแรงดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนจะสามารถตอบสนองหรือ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิมากยิ่งขึ้น และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ สื่อแบบมัลติมีเดียจึงเป็นบทเรียนที่ นำเสนอตามลำดับของเนื้อหา ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนแต่ละคนประสบผลสำเร็จในการเรียนได้ ทุกคนโดยอาจจะใช้เวลาในการเรียน หรืออัตราการเรียนรู้ (Learning Rate) ในระดับที่แตกต่างกัน ตามความสามารถของแต่ละบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่ดีกว่า (วีระพงศ์ วรพงศ์ทรัพย์, 2544) โดยการใช้สื่อมัลติมีเดียนั้นเป็นการแสดงตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงการ์ตูน หรือใช้ร่วมกับสิ่งอื่นๆ ในลักษณะสื่อประสมได้อีกด้วย
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบมีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและ ถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากร บุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ในปัจจุบันการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเป็นรูปแบบเดิม คือครูผู้สอนมักจะใช้การสอนแบบบรรยาย เป็นหลัก จึงทำให้ไม่เกิดความท้าท้ายต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้อย่างแท้จริง (Thongma, 2018) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการ เรียนอย่างตื่นตัวและได้ริเริ่มดำเนินการเรียนรู้อย่างใสใจ จดจ่อในเนื้อหาอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการ โดยมีการเริ่มความคิด สร้างความรู้ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ได้กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องปรับตัวและเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการสอนออนไลน์ โรงเรียนได้ดำเนินการสำรวจความพร้อมของนักเรียน ผลปรากฎว่า มีนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้อย่างเท่าเทียม เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร นักเรียนบางคนต้องติดตามผู้ปกครองไปทำงานนอกบ้าน จึงไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ตามตารางที่กำหนด
จากความสำคัญและความเป็นมาข้างต้นทำให้ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนได้มีการเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป โรงเรียนวัดจินดาราม จึงได้วางแผนในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบ จากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป โดยคำนึงถึงการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 คือจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน และธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจจากนามธรรมเป็นรูปธรรมมากที่สุด จึงได้พัฒนากลายเป็น นวัตกรรมการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ผ่านการประยุกต์ใช้สื่อ Multimedia โดยรูปแบบ KRUGOLF Instructional Model ขึ้น โดยบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง On-hand,On-demand และON-line เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามหลักสูตร และครูได้ใช้สื่อเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ