ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเมืองหลังสวน
ผู้ประเมิน นายกฤษฎา ทองกำเหนิด
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเมืองหลังสวน ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 591 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่นและค่าอำนาจจำแนก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.40, S.D. = .49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 1 โครงการกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ และ ข้อ 2 โครงการกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด (X = 4.54, S.D. = .56) และส่วนรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 4 โครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน (X = 4.18, S.D. = .65)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.10, S.D. = .64) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 10 โรงเรียนได้สนับสนุนให้ครู ผู้ปกครอง องค์กรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (X = 4.41, S.D. = .67) และรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 7 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพียงพอต่อการบริหารโครงการ (X = 3.70, S.D. = .64)
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.36, S.D. = .58) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 6 มีการวางแผนการดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติ (X = 4.62, S.D. = .55) และรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 10 กิจกรรมในโครงการช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (X = 4.08, S.D. = .67)
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.26, S.D. = .64) ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อยสรุปได้ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.35, S.D. = .61) ) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 17 มีการวางแผนและจัดกิจกรรมโฮมรูม (X = 4.65, S.D. = .53) และรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 39 โรงเรียนมีการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอกเมื่อโรงเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และ ข้อ 40 มีการบันทึกการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก (X = 4.06, S.D. = .78)
4.2 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.12, S.D. = .76) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 5 กรณีนักเรียนมีปัญหาครูได้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง (X = 4.22, S.D. = .76) และรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 6 ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน (X = 3.91, S.D. = .82)
4.3 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.18, S.D. = .59) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 6 การจัดกิจกรรมการรู้จักนักเรียนรายบุคคล (X = 4.31, S.D. = .56) และรายการที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 1 การกำหนดแผนการปฏิบัติงานโครงการ (X = 4.03, S.D. = .60)