การวิจัยเรื่อง การพัฒนาใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคำนวณสารละลายกรดเบส เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาเคมี 3 ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) สรุปผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ (2) สรุปผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และ (3) สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งสรุปผลการวิจัย อภิปราย ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ แต่ละประเด็นมีรายละเอียด ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1. สรุปผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์
การใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง การคำนวณสารละลายกรด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 87.01 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 84.25 แสดงว่ามี ประสิทธิภาพเท่ากับ 87.01/84.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ 80/80
2. สรุปผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ สามารถสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง การคำนวณสารละลายกรด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนที่เรียนด้วยใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคำนวณสารละลายกรดเบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 และผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม พบว่านักเรียนชอบทำใบงานออนไลน์ เพราะรู้ผลคะแนนได้ในทันที สามารถทำซ้ำกี่รอบก็ได้จนกว่าจะพึงพอใจในคะแนน ประเมินตนเองได้ทันทีว่าเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด แต่นักเรียนไม่อยากให้ครูสร้างใบงานจำนวนหลายหน้า
ข้อเสนอแนะเพื่อการนําผลการวิจัยไปใช้
1. ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ ครูผู้สอน ต้องศึกษาหลักการของเกมมิฟิเคชันให้เข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน และเพื่อป้องกันการเกิดจุดบอดของใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ ที่ผู้สอนสร้างขึ้น
2. ควรลดทอนเนื้อหาในแต่ละใบงานให้สั้นกระชับ และมีจำนวนข้อ จำนวนหน้าน้อยๆ
ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป
1. ตำแหน่งมุมบนซ้าย ไม่ควรใช้สีแดง เพราะทำให้มองไม่เห็นคะแนน
2. ควรนำเทคนิคการคำนวณอื่นๆมาช่วยในการออกแบบใบงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เช่น เทคนิคHOYA