รายงานการวิจัย รายงานผลการพัฒนาโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว
มาตราแม่ ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านวังใหญ่ปลายรำ
ชื่อรายงาน นางสาวสานุรี หลำยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยผลการพัฒนาโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านวังใหญ่ปลายรำ มีวัตุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังใหญ่ปลายรำ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ
การเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านวังใหญ่ปลายรำ
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบฝึกทักษะจำนวน 9 เล่ม 90 กิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนคำ สระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยว
เสียงยาว มาตราแม่ ก กา (E_1/E_2 ) คะเนนเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังใหญ่ปลายรำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน
มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน และหลังเรียนเท่ากับ 791.50 และ 26.50 ตามลำดับ โดยประสิทธิภาพ
ของแบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา มีประสทธิภาพ E_1/E_2 = 88.35/88.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา มีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่า นักเรียนได้รับการพัฒนาจากการสอนการเขียนคำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา ได้ดีขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อฝึกทักษะการเขียน
คำสระเดี่ยวเสียงยาว มาตราแม่ ก กา โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( μ = 4.47, σ = 0.67)