๑. ข้อมูลโรงเรียน / สถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต ๒
สถานที่ตั้ง เลขที่ ๒๒๓/๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
โทรศัพท์ ๐๕๕-๗๓๕๑๗๑ E-mail : maithongchai@ Gmail.com รหัสไปรษณีย์ ๖๒๑๘๐
เปิดสอนการศึกษาระดับปฐมวัย ถึง ระดับประถมศึกษา เป็นโรงเรียนขนาดกลาง
จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๒๑๔ คน จำนวนครูทั้งหมด ๑๐ คน จำนวนห้องเรียน ๘ ห้องเรียน
ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา นายไพโรจน์ หาระโคตร โทรศัพท์ ๐๘๖ ๒๑๙๒๘๘๐
๒. ให้สถานศึกษา/ โรงเรียน เขียนรายงานผลการบริหารจัดการและการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน / สถานศึกษา (เป็นผลงานปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓) ครอบคลุม ทั้ง ๕ ประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นที่ ๑) การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยของโรงเรียน/สถานศึกษาที่สะท้อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ๓ ปีการศึกษา (ปี ๒๕๖๑ ๒๕๖๓) ให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน
ด้วยสภาวะของโลกปัจจุบันทำให้สถานการณ์ของเด็กได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการกระทำที่ส่งผลให้พฤติกรรม ความคิด และทัศนคติของเด็กเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจเป็นโทษแก่ตัวเด็กเอง และในปัจจุบันมีความซับช้อนและเกิดปัญหาที่รอการแก้ไขมากยิ่งขึ้น ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาแก้ไขเด็กและเยาวชนในระบบของโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กได้รับโอกาสพัฒนาตนเองให้พ้นสภาพปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้ามาใช้เพื่อการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะในการดำรงชีวิต และสามารถรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง ซึ่งทางโรงเรียนมีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้
๑.๑ ) โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย มีนโยบายในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน จะเห็นได้จากแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ซึ่งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนถือว่าเป็นจุดเน้นของสถานศึกษาเนื่องด้วยบริบทของสถานศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง และอยู่ในเขตชุมชนที่มีปัญหายาเสพติดในพื้นที่และพื้นที่โดยรอบ
๑.๒) ผู้บริหารมีการจัดประชุมครู เพื่อกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ซึ่งต้องคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และผู้ปกครอง โดยมีการจัดการออกเป็น ๔ กลุ่มงาน เพื่อการบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง จึงมีการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา ศักยภาพของสถานศึกษาและบริบทของชุมชน โดยการ วางแผนการจัดทำโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งกำหนดโครงสร้างบริหารงานและแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๑.๓) สร้างความตระหนักให้คณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน ให้เห็นคุณค่าและความจำเป็นของ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยในการประชุมก่อนเปิดภาคเรียน จะมีการนำผลของการดำเนินงานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของการศึกษารายกรณีแต่ละปีการศึกษา เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและประเมิน ผลสำเร็จในการช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มการศึกษารายกรณีและวางเป้าหมายในการดำเนินงานต่อไป
๑.๔) วางแผนและดำเนินงานตามระบบที่วางไว้ โดยทางโรงเรียนออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน ดังนี้
- คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการ (ทีมนำ) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ นิเทศ
กำกับติดตาม ให้คำปรึกษา คำแนะนำ เพื่อให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป
- คณะกรรมการฝ่ายดำเนินงาน (ทีมทำ) ประกอบด้วย คณะกรรมการทีมทำระดับชั้นประถมศึกษา
คณะครูโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินงานตามกระบวนการที่โรงเรียนได้กำหนด
- คณะกรรมการฝ่ายสนับสนุน (ทีมประสาน) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว
กรรมการสถานศึกษา กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ ประสานงานระหว่างคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พร้อมทั้งจัดทำเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม
โดยดำเนินงานตามขั้นตอนของงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ และครูที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการในทิศทางเดียวกันทั้ง ๕ ขั้นตอน
๑.๕) โรงเรียนได้ประเมิน วิเคราะห์ผู้เรียนจาก ระเบียนสะสม SDQ เอกสารการเยี่ยมบ้าน ระบบเทคโนโลยี และสารสนเทศ (ICT) ของโรงเรียน และเอกสารต่าง ๆ จากนั้นได้จัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประเด็นที่ ๒) การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน / สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนานักเรียน โดยใช้ WBM (Web Base Management ) ช่วยในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อความรวดเร็วในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อวางแผนระบบการบริหารจัดการในการกำหนดนโยบายการบริหาร โครงสร้างรวมถึงผู้รับผิดชอบ การพัฒนาบุคลากร การได้รับการสนับสนุนสื่อและเครื่องมือ การจัดเครือข่ายสหวิชาชีพ เพื่อดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคลจากการสังเกต สัมภาษณ์ การเยี่ยมบ้านนักเรียน การประเมินหรือทดสอบ เพื่อวิเคราะห์หาความถนัด ความสามารถ สติปัญญาทางด้านสุขภาพกาย และวิเคราะห์ความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตของนักเรียนทางด้านคุณภาพชีวิต นำมาวินิจฉัยและคัดกรองในการจำแนกกลุ่ม จัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน บริการแนะแนวแก่นักเรียนทุกคน สำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหามีการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังนี้
ดีขึ้น
ไม่ดีขึ้น
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย มีวิธีการดำเนินงานระบบการดูช่วยเหลือนักเรียนทั้ง ๕ ขั้นตอน ดังนี้
๒.๑) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้จัดทำฐานข้อมูลนักเรียนทุกคน โดยการบันทึกข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และเอกสารต่าง ๆ ที่ได้จากการทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น การออกเยี่ยมบ้านนักเรียนตามสภาพที่แท้จริงของนักเรียน เพื่อนำมาคัดกรองและแบ่งตามประเภท
๒.๑.๑) การจัดทำระเบียนสะสม ให้นักเรียนกรอกข้อมูลรายบุคคลและนำส่งงานระบบดูช่วยเหลือนักเรียน
๒.๑.๒) การประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) ให้นักเรียนกรอกข้อมูลประเมินตนเอง หลังจากนั้นครูกรอกข้อมูลประเมินนักเรียน และผู้ปกครองกรอกข้อมูลเพื่อประเมินนักเรียน หลังจากนั้นประมวลผล ด้วยโปรแกรม (SDQ) เพื่อนำผลประเมินใช้ในการคัดกรองนักเรียน ซึ่งทางโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้ดำเนินการดังกล่าว ดังนี้
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้ดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยงานแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพฯ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการวางแผนการคัดกรองผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของกรมสุขภาพจิต (SDQ : The Strengths and Difficulties Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองผู้เรียบเบื้องต้น
แบบประเมินชุดนี้จะมีผลการประเมินจาก ๓ ส่วน ได้แก่ นักเรียนประเมินตนเอง, ครูประเมินนักเรียนและผู้ปกครองประเมินนักเรียน
๒.๑.๒.๑) ขั้นตอนในการประเมิน
๑) ครูแนะแนวประชุมชี้แจงครูประจำชั้น เรื่องการใช้แบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของกรมสุขภาพจิต
๒) ครูประจำชั้นสังเกตและทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ในระยะเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน
เพื่อจะได้รู้จักนักเรียนให้ดีขึ้น และประเมินนักเรียนในห้องเรียนของตนเอง
๓) ครูแจกแบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อนให้นักเรียนประเมินตนเองในชั่วโมงกิจกรรมแนะแนว
๔) ครูประจำชั้นนำส่งผลการประเมินที่งานแนะแนว
๕) งานแนะแนวนำข้อมูลที่ได้รับการประเมินจาก ๓ ส่วนกรอกลงในโปรแกรมประมวลผล
๖) นำผลที่ได้มาจัดเป็นกลุ่มนักเรียนดังนี้
- นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมปกติ จำนวน ๑๘๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๘๖
- นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๗
- นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมมีปัญหา จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๗
๗) งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะแจ้งผลการประเมินจุดแข็งจุดอ่อนต่อครูประจำชั้นเพื่อให้รับทราบข้อมูลและร่วมให้ความช่วยเหลือนักเรียน
๘) นักเรียนกลุ่มดังกล่าวระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะแบ่งการจัดกิจกรรมเป็น ๒ ลักษณะ
๘.๑.) กลุ่มปกติ โรงเรียนได้จัดทำโครงการและกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านพัฒนาการเขียน , โครงการส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และเขียน, โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, กิจกรรมแนะแนว. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี , กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ , กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน , กิจกรรมทักษะชีวิต
๘.๒) กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา โรงเรียนได้จัดทำโครงการและกิจกรรม เพื่อการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , กิจกรรมการศึกษาเพื่อการมี งานทำ, กิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, กิจกรรมพัฒนาวินัยนักเรียน, กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม, กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและอนามัย , กิจกรรม To Be Number One
๙) นักเรียนกลุ่มดังกล่าวจะเข้ากระบวนการรับความช่วยเหลือโดยผ่านโครงการและกิจกรรมของกลุ่มงานต่าง ๆ และได้รับการดูแลด้านพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดจากครูประจำชั้น ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียน คอยติดตามและสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม
๑๐) หลังจากนักเรียนได้รับความช่วยเหลือจากงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว งานแนะแนวจะดำเนินการประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของนักเรียนกลุ่มนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
จากการดำเนินงานในปีการศึกษา ๒๕๖๓ หลังจากที่นักเรียนกลุ่มห่วงใย และกลุ่มใส่ใจ จำนวน ๒๖ คน ได้รับการช่วยเหลือตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว พบว่านักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีผลการประเมินจุดแข็งจุดอ่อนอยู่ในระดับปกติทุกคน
๒.๑.๓) การเยี่ยมบ้าน ดำเนินการโดยให้คณะครูที่ปรึกษาในทุกระดับชั้นออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง หรือมากกว่าแล้วแต่กรณี แต่หากพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมผิดระเบียบโรงเรียนมากเกินไป ก็จะดำเนินการออกเยี่ยมบ้านบ่อยครั้ง ทั้งนี้การออกเยี่ยมบ้านในแต่ละครั้ง จะมีการบันทึกข้อมูลเสมอ โดยครู ที่ปรึกษาและครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจัดทำเอกสารการสัมภาษณ์ผู้ปกครองในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินงานระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งพบปะผู้ปกครองและร่วมหารือถึงปัญหาต่างๆ โดยในการเยี่ยมบ้านนักเรียนนั้นทางโรงเรียนได้รับทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถจำแนกเป็นประเภทปัญหาดังนี้
ตารางจำแนกประเภท สภาพปัญหาที่พบของนักเรียน ระหว่างปี 2561 2563
ปัญหา ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
๑.ด้านการเรียน
๑.๑ กลุ่มปกติ ๑๘๑ ๙๕.๗๗ ๒๐๐ ๙๗.๕๖ ๒๑๓ ๙๙.๕๓
๑.๒ กลุ่มเสี่ยง - - - - - -
๑.๓ กลุ่มมีปัญหา ๘ ๔.๒๓ ๕ ๒.๔๔ ๑ ๐.๔๗
รวม ๑๘๙ ๑๐๐ ๒๐๕ ๑๐๐ ๒๑๔ ๑๐๐
๒.ด้านสุขภาพ
๒.๑ กลุ่มปกติ ๑๘๐ ๙๕.๒๔ ๒๐๑ ๙๘.๐๕ ๒๐๘ ๙๗.๒๐
๒.๒ กลุ่มเสี่ยง ๗ ๓.๗ ๓ ๑.๔๖ ๕ ๒.๓๔
๒.๓ กลุ่มมีปัญหา ๒ ๑.๐๕ ๑ ๐.๔๙ ๑ ๐.๔๖
รวม ๑๘๙ ๑๐๐ ๒๐๕ ๑๐๐ ๒๑๔ ๑๐๐
๓.ด้านเศรษฐกิจ
๓.๑ กลุ่มปกติ ๑๗๙ ๙๔.๗๑ ๑๙๙ ๙๗.๐๗ ๒๐๑ ๙๓.๙๓
๓.๒ กลุ่มเสี่ยง ๗ ๓.๗ ๔ ๑.๙๕ ๓ ๑.๔๐
๓.๓ กลุ่มมีปัญหา ๓ ๑.๕๙ ๒ ๐.๙๘ ๑๐ ๔.๖๗
รวม ๑๘๙ ๑๐๐ ๒๐๕ ๑๐๐ ๒๑๔ ๑๐๐
๔.ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย
๔.๑ กลุ่มปกติ ๑๘๑ ๙๕.๗๗ ๑๙๗ ๙๖.๑๐ ๒๑๐ ๙๘.๑๓
๔.๒ กลุ่มเสี่ยง ๕ ๒.๖๕ ๖ ๒.๙๓ ๓ ๑.๔๐
๔.๓ กลุ่มมีปัญหา ๓ ๑.๕๘ ๒ ๐.๙๗ ๑ ๐.๔๗
รวม ๑๘๙ ๑๐๐ ๒๐๕ ๑๐๐ ๒๑๔ ๑๐๐
๕. ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติด
๕.๑ กลุ่มปกติ ๑๘๔ ๙๗.๓๕ ๒๐๓ ๙๙.๐๒ ๒๑๒ ๙๙.๐๗
๕.๒ กลุ่มเสี่ยง ๕ ๒.๖๕ ๒ ๐.๙๘ ๒ ๐.๙๓
๕.๓ กลุ่มมีปัญหา - - - - - -
รวม ๑๘๙ ๑๐๐ ๒๐๕ ๑๐๐ ๒๑๔ ๑๐๐
แผนภูมิแสดงร้อยละสภาพปัญหาที่พบของนักเรียน
ระหว่างปี 2561 2563
แผนการแก้ไขปัญหา
๑) ปัญหาด้านการเรียน
แก้ปัญหาโดยจัดกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมซ่อมเสริมและกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
๒) ด้านสุขภาพ
แก้ปัญหาโดยการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง ดูแลให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นในโรงเรียนโดยครูอนามัยของโรงเรียน หากเกินกำลังความสามารถในการดูแลจะส่งต่อโรงพยาบาลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และดูแลด้านโภชนาการ ให้นักเรียนรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
๓) ด้านเศรษฐกิจ
จัดหาทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความประพฤติดีแต่ฐานะยากจนเป็นพิเศษ ส่งเสริม การประกอบอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน เช่น ปลูกผัก, เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
๔) ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย
๔.๑) อาคารเรียน มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน
๔.๒) มีครูเวรและนักการภารโรง ดูแลความปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๔.๓) มีครูเวรยามวิกาลดูแลความเรียบร้อย และความปลอดภัย
๔.๔) มีระบบรักษาความปลอดภัยโดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด
๔.๕) ชุมชนให้ความช่วยเหลือในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียน
๕) ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติด
๕.๑) มีการสุ่มตรวจสารเสพติดในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
๕.๒) อบรมให้ความรู้ และสร้างครามตระหนักถึงโทษของสารเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญา
๕.๓) ส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะเพื่อลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
๕.๔) ส่งต่อสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในกรณีเกินความสามารถที่ทางโรงเรียนจะให้ความช่วยเหลือได้
๒.๓.๔) บันทึกข้อมูลสุขภาพ โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยได้เชิญเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลคลองลาน และเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขอำเภอ มาตรวจสุขภาพ ส่วนสูง น้ำหนัก ค่าสายตาของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยประจำทุกภาคเรียน และบันทึกข้อมูลลงในสมุดตรวจสุขภาพของนักเรียน ทั้งนี้ทางโรงเรียนยังได้จัดสถานที่สำหรับ การปฐมพยาบาลแก่นักเรียน (ห้องพยาบาลโรงเรียน) โดยมีครูอนามัยประจำการอยู่
๒.๓.๕) การสังเกตพฤติกรรมอื่น ๆ มีนักเรียนแกนนำในแต่ละชั้นเรียนสังเกตพฤติกรรมของเพื่อนนอกเวลาเรียน รวมถึงครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน และงานกิจการนักเรียน บันทึกข้อมูลการมาโรงเรียนของนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เมื่อนักเรียนไม่มาเรียน ทางฝ่ายกิจการนักเรียนจะแจ้งให้ครูที่ปรึกษา เพื่อที่จะได้ติดตามนักเรียนต่อไป รวมทั้งครูประจำวิชาจะสำรวจข้อมูล การมาเรียนของนักเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียนด้วยครูประจำชั้นและครูประจำวิชาก็จะทำการหักคะแนนความประพฤติ
๒.๒) การคัดกรองนักเรียน
โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนเบื้องต้น จากข้อ ๒.๑) แบ่งนักเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ ๑ ) กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ ๒) กลุ่มเสี่ยงมีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องให้ความช่วยเหลือ ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี (ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสารเสพติด ด้านการคุ้มครอง การติดเกมและด้านการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แล้วรายงานข้อมูลต่อผู้บริหาร เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๒.๓.) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการเอาใจใส่นักเรียนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับนักเรียน ที่อยู่ในกลุ่มปกติจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และสำหรับกลุ่มเสี่ยงมีปัญหานั้น จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหาของสังคม และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่นักเรียน ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมโฮมรูม และจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กีฬา ดนตรี นาฏศิลป์ และกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เพื่อช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น
๒.๔) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
๒.๔.๑) โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้จัดทำคำสั่งโรงเรียน เรื่องการแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว เพื่อให้นักเรียนมีที่ปรึกษา มีครูแนะแนวคอยชี้แนวทางที่ดีให้ และเพื่อนนักเรียนเป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น
๒.๔.๒) โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหากิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน การจัดงานวันรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมทักษะชีวิต กิจกรรมด้านดนตรี-กีฬา กิจกรรมจิตอาสา/บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมวันภาษาไทย สัปดาห์ห้องสมุด กิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมชมรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมกีฬาภายใน กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ
๒.๔.๓) จัดกิจกรรมยามเช้า (กายบริหารและสวดมนต์เช้า) เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรมและจริยธรรม โดยโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้เชิญคณะครูและวิทยากรจากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำทางศาสนามาบรรยาย/สาธิต ให้แก่นักเรียนจนได้รับความรู้ทุกวัน
๒.๔.๔) โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย มีการประสานงานกับชุมชนจัดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมทางพุทธศาสนา และร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ประสานงานประจำโรงเรียนในการตรวจปัสสาวะนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสาธารณะและมีระเบียบวินัย
๒.๕) การส่งต่อ
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยให้ความช่วยเหลือและดูแลนักเรียนที่มีปัญหาความเสี่ยงต่างๆ โดยการส่งต่อ ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนสำหรับภายนอกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถช่วยเหลือได้
- นักเรียนที่มีปัญหา ด้านยาเสพติดส่งต่อให้กับโรงพยาบาลคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน
จ.กำแพงเพชร
- นักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่งต่อให้กับโรงพยาบาลคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทำให้นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมลดลง และส่งเสริมให้จำนวนนักเรียนกลุ่มปกติมีคุณลักษณะของผู้เรียนที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้ดำเนินงานระบบการดูช่วยเหลือนักเรียนโดยจัดทำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ และดำเนินงานสอดคล้องทั้ง ๕ ขั้นตอนอย่างเป็นระบบครบวงจร อย่างทั่วถึง สร้างความตระหนักให้นักเรียน มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ทั้งนี้ทางโรงเรียนยังได้บูรณาการกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต กิจกรรมด้านวิชาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเสริมทักษะและพฤติกรรมเชิงบวกให้แก่ผู้เรียน ซึ่งปัจจุบันนักเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือเห็นผลอย่างชัดเจน เช่น
๑) เด็กชายสุธินันท์ โมกขภัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง เริ่มแรกทางโรงเรียนได้คัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลจนพบว่า นักเรียนมีอาการปวดหัว จากอาการปวดเล็กน้อยกลับกลายเป็นอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น ทางโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้นำนักเรียนเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร จากนั้นเมื่อทางแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยอาการพิจารณา นำตัวส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยอาการพิจารณาแล้ว พบว่าเป็นเนื้องอกในสมองและได้ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เพื่อทำการผ่าตัดต่อไป
ปัจจุบันโรงเรียนได้ติดตามอาการอยู่เป็นระยะ นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้ช่วยเหลือครอบครัวของนักเรียนคือ ได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายเป็นค่ารักษาและค่าเดินทาง เนื่องจากผู้ปกครองต้องเฝ้านักเรียนที่โรงพยาบาลทำให้ขาดรายได้ หลังจากการผ่าตัดเนื้องอกสมองได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน จังหวัดกำแพงเพชร
๒) เด็กหญิงณัฐฑริกา ป้องเกษม นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ พิการทางร่างกาย ขางอ ผิดรูปเกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากทรงตัวไม่ค่อยได้ ต้องมีผู้ปกครองคอยช่วยพยุงตลอด ทางโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยได้นำนักเรียนเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อทำกายภาพบำบัด ปัจจุบันสามารถเดินได้ด้วยตนเองช่วยเหลือตัวเองได้และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น
๓) เด็กชายวิโรจน์ สุโข นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จากการคัดกรองและ การเยี่ยมบ้านนักเรียน พบว่า นักเรียนเป็นเด็กยากจนมากเป็นพิเศษ และมีปัญหาทางครอบครัว ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ และด้านการเรียนของผู้เรียน ทางโรงเรียนได้แก้ปัญหาและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันนักเรียน มีสุขภาพจิตดีและร่าเริงมากขึ้น
๔) เด็กชายสัณฑ์เพชร เสวกโอสถ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จากการคัดกรองและการเยี่ยมบ้านนักเรียน พบว่า นักเรียนเป็นเด็กยากจนมากเป็นพิเศษ ต้องอาศัยเล้าไก่ร้างอยู่ ผู้ปกครองไม่มีงานทำที่มั่นคง ไม่มีที่ดินทำกิน และมีปัญหาทางครอบครัว ทำให้พ่อแม่หย่าร้างกัน ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ และด้านการเรียนของผู้เรียน ทางโรงเรียนได้แก้ปัญหาให้การช่วยเหลือมอบทุนการศึกษา ของใช้ภายในครัวเรือน และติดตามเป็นระยะ ปัจจุบันนักเรียนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งยังร่าเริง แจ่มใส มีความสุขมากขึ้น
ประเด็นที่ ๓) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย เป็นโรงเรียนประถม ขนาดกลาง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๒ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) หน่ายงานต่าง ๆ ตามกรอบความร่วมมือ ดังนี้
นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย มีภาคีเครือข่ายในการร่วมมือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและบุคคลภายนอก เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครอง องค์กรต่างๆ และเชิญเป็นกรรมการ เชิญประชุมปรึกษา ขอความร่วมมือ ขอความคิดเห็น เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ขอความร่วมมือ อำนวยความสะดวกในการประสานงาน ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ให้ข้อมูลข่าวสารและร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยมีประธานและกรรมการดำเนินงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและ เพื่อพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนที่มีปัญหาทุกด้าน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ร่วมกันกำหนด และมีการให้ท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้แก่ลูกหลานและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีโดยเน้นถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดหาทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้นักเรียนทุกปีโดยมีกิจกรรมดังนี้
๑.๑) จัดประชุมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครอง
๑.๒) การร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมครูตำรวจมาให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน และช่วยเหลือนักเรียน นอกจากนี้ยังมีครูพระมาสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๑.๓) จัดทำการบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายใน เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ประเด็นที่ ๔) การส่งเสริม สนับสนุน นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม และประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนางาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและให้ข้อมูลย้อนกลับที่จะใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน บ้านใหม่ธงชัย มีการวางแผนในการกำกับ ติดตาม การทำงานของครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาให้รับทราบและ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พร้อมทั้งร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
๔.๑) จัดให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการทำงานของครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาไปพร้อมกับการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู
๔.๒) จัดให้สนับสนุนมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้ขวัญกำลังใจ เช่น ยกย่อง ให้รางวัล ความดี ความชอบ
๔.๓) บันทึกหลักฐานการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานประเมินผล
โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยได้มีการพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติระบบ การดูช่วยเหลือนักเรียนโดยการส่งครูและบุคคลากรเข้ารับการอบรบ และประชุมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จนได้รับโล่เชิดชูเกียรติเสมา ป.ป.ส โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ประเด็นที่ ๕) ความสำเร็จของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยอย่างต่อเนื่อง ๓ ปี (๒๕๖๑ - ๒๕๖๓) ประสบความสำเร็จ ดังนี้
๕.๑) นักเรียน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาอย่างมีระบบโดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปลอดภัยจากสารเสพติด ซึ่งทางโรงเรียนได้นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนในการศึกษารายกรณีจนประสบความสำเร็จ ดังนี้
- เด็กชายณาณพัฒน์ ห้อยพรมราช ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง การแข่งขันเดี่ยวซออู้ ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ งานศิลปหัตถกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จังหวัดสุโขทัย
- เด็กหญิงนันท์ภัส ห้อยพรมราช ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน การแข่งขันเดี่ยวซอด้วง ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ งานศิลปหัตถกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จังหวัดสุโขทัย
- เด็กหญิงภิญญามาศ จันทร์ทอง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันเปตอง ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ กีฬานักเรียน นักศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร
5.2) โรงเรียน มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัยซึ่งส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัล ดังนี้
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษา ประเภทผลงานดีเด่น ระดับทอง เนื่องในโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2561 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ส่งนักเรียนเข้าการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การแข่งขันกีฬาฟุตซอล รุ่น ๑๒ ปี กีฬานักเรียน นักศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การแข่งขันกีฬา
ฟุตบอล รุ่น ๑๒ ปี วันต่อต้านยาเสพติด จังหวัดกำแพงเพชร จากหน่วยงานศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดกำแพงเพชร
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ส่งนักเรียนเข้าการแข่งขัน ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันกีฬาฟุตบอล
รุ่น ๑๒ ปี การแข่งขันกีฬาเทศบาล ระดับกลุ่มโรงเรียนคลองลาน
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ชนิดกีฬาฟุตบอล และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชนิดกีฬาเปตอง รุ่นอายุ 12 ปี ในการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 (กีฬานักเรียน นักศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร)
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ฟุตบอลชายรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี
เนื่องในการแข่งขันกีฬา สพป.กพ.2 จูเนียร์ พรีเบียร์ลีก ประจำปี 2562
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ฟุตบอลชายรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี
เนื่องในโครงการแข่งขันกีฬานักเรียน สพป.กำแพงเพชรเขต 2 ประจำปีการศึกษา 2563 ณ สนามกีฬาเทศบาลตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ ประเภทกองเชียร์ (โรงเรียนขนาดเล็ก) และได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ ประเภทฟุตบอลชาย 12 ปี เนื่องในกีฬาเด็กและเยาวชนต้านยาเสพติด คลองน้ำไหลใต้เกมส์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2562
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 9 คน อายุไม่เกิน 12 ปี
เนื่องในโครงการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด ณ โรงเรียนบ้านท่าช้าง ประจำปีการศึกษา 2562
- โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 9 คน อายุไม่เกิน 12 ปี
เนื่องในโครงการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด ณ โรงเรียนบ้านท่าช้าง ประจำปีการศึกษา 2562
5.3) ครู และบุคลากรทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจหลักการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานประสบความสำเร็จ ซึ่งครูที่มีผลงานการปฏิบัติงาน นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและได้รับโล่รางวัล ดังนี้
- นายไพโรจน์ หาระโคตร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นแบบอย่างด้าน ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น เนื่องในงานวันครู ประจำพุทธศักราช 2563
- นายไพโรจน์ หาระโคตร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย เป็นผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาเปตอง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รุ่นอายุ 12 ปี ในการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 (กีฬานักเรียน นักศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร)
- นางสาวเกศรินทร์ เกษแก้ว ครูผู้สอนนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันเดี่ยวซออู้ เด็กชายญาณพัฒน์ ห้อยพรมราช นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันเดี่ยวซออู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ประจำปีการศึกษา 2562 ณ จังหวัดสุโขทัย
- นางสาวละยอง กมขุนทด ครูผู้สอนนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันเดี่ยวซอด้วง เด็กหญิงนันท์นภัส ห้อยพรมราช นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ธงชัย ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันเดี่ยวซอด้วง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ประจำปีการศึกษา 2562 ณ จังหวัดสุโขทัย
- นางสาวเกศรินทร์ เกษแก้ว ได้รับรางวัล ครูสอนดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑
- นางสาวละยอง กมขุนทด, นางสาวขวัญประภา กุลนรา ครูสอนดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
- นางสาวละยอง กมขุนทด, นางสาวขวัญประภา กุลนรา, นางสาวเกศรินทร์ เกษแก้ว ,
นางสาวศุภารัตน์ สิงห์โต, นางสาวจันทร์นิกา จันทร์สอน, นางสาวนพรดา มั่งคั่ง, นางสาวรัตนากร พาไทยสงค์ , นางสาวฐิติมา จินาวา ได้รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
- นางสาวละยอง กมขุนทด, นางสาวขวัญประภา กุลนรา , นางสาวเกศรินทร์ เกษแก้ว ,
นางสาวศุภารัตน์ สิงห์โต , นางสาวจันทร์นิกา จันทร์สอน , นางสาวนพรดา มั่งคั่ง , นางสาวรัตนากร พาไทยสงค์ , นางสาวฐิติมา จินาวา ได้รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓
โรงเรียนมีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนบ้านใหม่ธงชัยได้รับรางวัล ดังนี้ ได้รับโล่และเกียรติบัตร รางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับทอง โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จากหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ