บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ของชุมชน โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2) ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารจัดการ โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 3) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้มาจากวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดกะสังข์ จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 54 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธนู จำนวน 1 คน กำนันตำบลธนู จำนวน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1,2 ตำบลธนู หมู่ 1,2 ตำบลข้าวเม่าจำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธนู จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภออุทัย จำนวน 3 คน รวมจำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึก สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน สูงสุด 3 อันดับแรกของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้หลักสูตร 2) มีส่วนร่วมในการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน 3) มีส่วนร่วมในการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
1.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 2) มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานการเงิน งานพัสดุของโรงเรียน 3) มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดข้อมูลที่ถูกต้องของโรงเรียน
1.3 ด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการประชุมผู้ปกครองนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 2) มีส่วนร่วมในการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และให้ข้อเสนอแนะการสนับสนุนพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน 3) มีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน
1.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และผลงานของโรงเรียน และมีส่วนร่วมในงานสัมพันธ์ชุมชนกับ 2) มีส่วนร่วมในการประเมินผลการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียน 3) มีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินการการจัดกิจกรรมของโรงเรียน และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ เพื่อใช้พัฒนาปรับปรุง
2. ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน สูงสุด 3 อันดับแรกของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 2) มีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรม 3) มีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
2.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการของโรงเรียน 2) มีส่วนร่วมในการรับข้อมูลที่ถูกต้องด้านงบประมาณการปรับปรุง ซ่อมแซมของโรงเรียน -3) มีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณเป็นระยะ ๆ ผ่านตัวแทนผู้ปกครองในรูปของคณะกรรมการสถานศึกษา
2.3 ด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) มีส่วนร่วมในการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร 3) มีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน
2.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินการการจัดกิจกรรมของโรงเรียน 2) มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ เพื่อใช้พัฒนาปรับปรุง 3) มีส่วนร่วมในการประเมินผลการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียน
3. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนวัดกะสังข์ (พิศิษฎ์นวการอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทั้ง 4 ด้าน คือ
3.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ
สถานศึกษาควรแต่งตั้งกรรมการสถานศึกษาร่วมกำหนดกรอบประเมินผลการใช้ หลักสูตร กรอบการนิเทศ และกรอบในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น อบรม ชี้แจง ให้ความรู้ใน ข้อเสนอแนะในการประเมินผลการใช้หลักสูตร การนิเทศ และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ดำเนินการ ให้ข้อเสนอแนะในการประเมินผลการใช้หลักสูตร ดำเนินการนิเทศ สรุปผลให้ข้อเสนอแนะใน การประเมินผลการใช้หลักสูตร การนิเทศ และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
3.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ
สถานศึกษาควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานการเงิน พัสดุของโรงเรียน ตรวจสอบ ติดตามผลการใช้งบประมาณของ โรงเรียน และผู้บริหารร่วมกับคณะครูนำผลที่ได้มาปรับใช้กับปีการศึกษาต่อไป
3.3 ด้านการบริหารงานบุคคล
สถานศึกษาควรให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมวางแผนในการสรรหาและ พัฒนาบุคลากร พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในโรงเรียน
3.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป
สถานศึกษาควรประชุมวางแผนร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนให้มากขึ้น รวมทั้งการใช้อาคารสถานที่ และการประเมินผลการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งด้วย