บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านลำช้าง ที่อยู่ 165 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวอาภรณ์ เมืองแก้ว เบอร์โทรศัพท์ 089 - 5896934
จำนวนครู 10 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 8 คน ครูอัตราจ้าง - คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 2 คน
จำนวนนักเรียน รวม 138 คน จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย 44 คน ระดับประถมศึกษา 94 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
ระดับการศึกษาปฐมวัย ด้านคุณภาพเด็ก โรงเรียนบ้านลำช้างมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนได้ร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมตามวัย คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน โดยการร่วมกันจัดประสบการณ์ต่างๆเช่น จัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มีการนอนพักผ่อน มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง มีการตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นรายบุคคล ให้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน ให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) การป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ให้ดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก ด้านสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน ทำงานร่วมกับผู้ปกครองได้ โดยผู้ปกครองสามารถช่วยจัดกิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ ที่ทางโรงเรียนจัดมาให้ได้ตามความเหมาะสม รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยพาเด็กร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพ่อ วันแม่ วันสาร์ทเดือนสิบ วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ สดชื่น แจ่มใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งญาติพี่น้องและเพื่อนๆ และมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ด้วยการร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ ฝึกให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ผู้ปกครองและครู(ผ่านคลิปวีดีโอ) ฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กกล้าพูด แสดงออก ในการเล่าประสบการณ์และการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนผ่านคลิปวีดีโอ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ส่งผลให้โรงเรียนบ้านลำช้าง มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามพุทธศักราช ๒๕๖4 มีการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน และส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และพอเพียง มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า ดีเก่ง มีสุข จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
ผลการพัฒนา
ระดับการศึกษาปฐมวัย ด้านคุณภาพเด็ก เด็กร้อยละ 93.47 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กร้อยละ 96.31 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำที่บ้าน ร่าเริง แจ่มใส ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กร้อยละ 94.32 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม ด้านสติปัญญา เด็กร้อยละ 94.07 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม
ด้านกระบวนการบริหารจัดการ โรงเรียนบ้านลำช้างมีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ส่งผลให้การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นไปตามหลักสูตรและเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้เด็กมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสนุกสนาน ทำให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วน ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม ก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็ก
๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตร มีการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย มีกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านลำช้างมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษาที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก การตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผลการพัฒนา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคน สามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต สามารถช่วยเหลืองานพ่อแม่ได้ รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านลำช้าง มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัด การเรียนรู้และมีความปลอดภัย และมีการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกเด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
จุดเด่น
1. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน
2. มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
3. มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
4. มีครูและบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอ ครบชั้น และครบวิชาเอกที่สำคัญ สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
5. มีอาคาร สถานที่ ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เพียงพอ เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและผู้เรียน
6. ผู้เรียนมีทักษะทางด้านอาชีพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในอนาคตได้
7. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา
1. พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของผู้เรียน
2. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มากขึ้น
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. จัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มากขึ้น
5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1. จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของผู้เรียน
2. ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบศตวรรษที่ 21 โดยมีการติดตามและนิเทศห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ
3. ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม หรือประชุม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และนำมาพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และชุมชนมีส่วนร่วมกับโรงเรียน เช่น การประชุม กิจกรรมสานความสัมพันธ์ หรือการเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนรับรู้
5. พัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ให้ทันสมัย หรือแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในโรงเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้น
6. พัฒนาครูให้มีความรู้ และมีประสบการณ์ในการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมหรือระบบต่าง ๆ ตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน
( นางสาวอาภรณ์ เมืองแก้ว )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำช้าง