รายงานการประเมินโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนห้วยเม็กราษฎร์นุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต (Product) ด้านผลกระทบ (Impact) ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยใช้กระบวนการ CIPPIEST Model ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam, 2007) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนชุมชน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้แทนนักเรียน จำนวน 147 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้มีทั้งหมด 6 ฉบับ โดยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยฉบับนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินด้านบริบท (Context) พบว่า ความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องนโยบายของหน่วยงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า โครงการนี้ช่วยให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ได้ทราบถึงแนวทางในการที่จะเพิ่มหรือลดกิจกรรมใดในการพัฒนานักเรียนหรือเน้นทักษะใดในการสร้างคุณภาพผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้นำความรู้วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ และภาษาอังกฤษ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักวางแผนการทำงาน ฝึกการทำงานเป็นทีม โดยการระดมสมอง และฝึกการเป็นผู้นำ-ผู้ตามที่ดี และในส่วนของความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน คือ โครงการนี้มีการนำนโยบายของหน่วยงานมาบูรณาการและจัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงควรส่งเสริมด้านวิชาการให้หลากวิธีหลาย พร้อมกับบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมาปรับใช้ในการกระบวนการเรียนการสอนและดำเนินโครงการต่อไป
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ทุกด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ยกเว้น ด้านงบประมาณของโครงการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก จึงควรสนับสนุนโครงการให้มีการดำเนินงานต่อไป
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) โดยประยุกต์ใช้วงจรควบคุมคุณภาพ (Deming circle) โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.62) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงาน ( = 4.56, S.D.= 0.61) รองลงมา คือ การตรวจสอบการดำเนินงาน ( = 4.55, S.D.= 0.62) การปรับปรุงการดำเนินงาน ( = 4.54, S.D.= 0.63) และการวางแผน ( = 4.46, S.D.= 0.63)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product)
4.1 การประเมินด้านผลกระทบ (Impact) พิจารณาจากการสัมภาษณ์พบความสอดคล้องร่วมกันในการบ่งชี้ที่พบเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกคือมีเสียงตอบรับจากชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน หลังดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสร็จสิ้นมีการตอบรับที่ดี ส่งผลให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และได้ผลเป็นไปในทางบวก จึงถือเป็นสิ่งที่ดีที่นักเรียนมี
องค์ความรู้ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก และมีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ และภาษาอังกฤษ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
4.2 การประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) จากผลการพิจารณาผลการประเมินด้านประสิทธิผลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ระหว่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกรายวิชาพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 90.42 และในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 91.66 ซึ่งมีผลการประเมินเพิ่มขึ้น ผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 90.42 และในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 91.66 ซึ่งมีผลการประเมินเพิ่มขึ้น ผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 และในปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของรายวิชาผลปรากฏว่าทุกวิชามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ยกเว้น รายวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะนำผลไปปรับปรุง พัฒนา และทำวิจัยต่อไป
4.3 การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงรุก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.57) และมีผลการสัมภาษณ์ส่วนที่ 3
การเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นตรงกันมากที่สุด คือ การดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงรุกสามารถทำเป็นโครงการระยะยาวได้ โดยจัดทำเป็นโครงการลงในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนทุกปีการศึกษา แล้วศึกษาเรื่องที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันได้ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยสถานการณ์โควิด-19 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรวม เป็นต้น (ร้อยละ 90.57)
4.4 การประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่า จุดเด่นและข้อค้นพบของโครงการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นตรงกันมากที่สุด โดยเรียง 3 ลำดับ คือ นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการค่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงรุก และมีความสุขตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 93.47) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับประสบการณ์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ (ร้อยละ 87.68) และเน้นกิจกรรมฐานการเรียนรู้ และบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกลงในกิจกรรม โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำด้วยตนเอง และมีการบูรณาการเกือบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ร้อยละ 82.60)