บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) เปรียบเทียบผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปร การดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ คณะครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครู) นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 1,026 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1970 : 608-609) ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 30 คน นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 145 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 145 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม
สรุปผลการศึกษา
ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาค้นคว้าจำแนก ตามตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า เป็นคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 9.38 เป็นนักเรียน จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 45.31
เป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 45.31
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน ของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ใน 5 ด้าน
ก่อนดำเนินการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ใน 5 ด้าน ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านดำเนินการนิเทศ รองลงมา ได้แก่ ด้านศึกษา สภาพ ปัญหาและความความต้องการรับการนิเทศของครู และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านปรับปรุงกระบวนการนิเทศ
หลังดำเนินการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ใน 5 ด้าน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านปรับปรุงกระบวนการนิเทศ รองลงมา ได้แก่ ด้านวางแผนและกำหนดทางเลือกการนิเทศ และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านประเมินผลการนิเทศ
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามการดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่
1) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปรการดำเนินการ ในภาพรวมพบว่า ก่อนและหลัง การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 5 ด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 5 ด้าน โดยหลัง การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด มีระดับความคิดเห็นสูงกว่าก่อนการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปรตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ในภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 5 ด้าน