บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม จังหวัดพิจิตร ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 40 คน แบ่งการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา ซึ่งผู้วิจัยสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรียนรู้โครงงานและสะเต็มศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เมนูสุขภาพในท้องถิ่น และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 We can do โดยมีรายละเอียดองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้น คือ 1) ขั้นสะท้อนปัญหา (Problem Reflection) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูล (Information Collection) 3) ขั้นออกแบบและปฏิบัติการ (Design and operation) 4) ขั้นการทดสอบ ประเมิน (Testing and Evaluation) 5) ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Design Improvement) 6) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation) 7) ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion and Evaluation)
ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ มีแบบแผนการวิจัยรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 2) แบบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการ
แนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสัมภาษณ์นักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา เพื่อ
ส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ มีค่าเฉลี่ย 4.204.80 และส่วนความเบี่ยงเบน 0.45-0.80 และภาพโดยรวมทั้งหมด พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51,S.D.= 0.09)
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม จังหวัดพิจิตร มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดแบบโครงงานเป็นฐานกับสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม จังหวัดพิจิตร พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 ,S.D.= 0.18)