รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ฉบัง๑๖กับการเรียนรู้แบบBackward Design ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๖๔ โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน
ชื่อผู้วิจัย นางสาวไพลิน แสงการ
สอนวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๒๓๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การสอนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องฝึกทักษะต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กันทั้งการรับเข้ามา คือ การอ่านและการฟังกับทักษะการถ่ายทอดออกไป คือ การพูดและการเขียน ในด้านการเขียน ถือเป็นทักษะที่ยุ่งยากซับซ้อนและเป็นทักษะถ่ายทอดที่สำคัญต่อการสื่อสารอย่างยิ่ง
จากข้อมูลสภาพปัญหา ความสำคัญ และหลักการดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวครูผู้สอน ควรจะมีการศึกษาหาวิธีปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ให้ทั้งความรู้ทักษะการคิด ความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความแม่นยำ จดจำง่าย และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จัดระบบเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยพร้อมทั้งวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน พบว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา นักเรียนมีปัญหาทางด้านทักษะกระบวนการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและการที่นักเรียนขาดการพัฒนาด้านทักษะกระบวนการยังมีผลกระทบต่อไปในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นอีกด้วย
ผู้รายงานได้คิดหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาหานวัตกรรมทั้งเก่าและใหม่นำมาแก้ปัญหา จึงพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง การแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนBackward Design ทำให้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ผู้รายงานจึงได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ จำนวน ๑๒ คน
๒. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐
ขอบเขตของการวิจัย
๑. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ จำนวน ๑๒ คน โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑๒ คน
๒. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ จำนวน ๑๒ โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
๓. ระยะเวลาในการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑๐ ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๔. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เรื่อง การแต่งกาพย์ฉบัง ๑๖ โดยใช้วิธีการสอน Backward Design จำนวน ๘ แบบฝึก
วิธีดำเนินการวิจัย
๑. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑๒ คน
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น ได้แก่ ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนแบบBackward Design กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓
๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
๑.แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียน
๒.แบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖
๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑.ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนทดลองใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ จำนวน ๘ ครั้ง ครั้งละ ๔๐ นาที เป็นเวลา ๔ สัปดาห์
๒.ทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนเรื่อง การแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนแบบBackward Design
๔. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนฺBackward Design โดยสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนฺBackward Design ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ ปฏิบัติตามแบบฝึก ๘ แบบฝึก จำนวน ๑๒ คน ปรากฏผลคือ คะแนนหลังทดลองใช้แบบฝึกเท่ากับ ๑๖๐ คะแนน เฉลี่ยหลังใช้แบบฝึกเท่ากับ ๑๓.๓๓ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๙ ดังนั้นนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๘.๕ แสดงให้เห็นว่า หลังจากทดลองใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนแบบBackward Design นักเรียนพัฒนาความสามารถในการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิม
อภิปรายผลวิจัย
จากการที่นักเรียนได้รับการฝึกกิจกรรมการเรียน โดยใช้วิธีการสอน แบบBackward Design รวมทั้งสิ้น ๘ ครั้ง เป็น ครั้งละ ๔๐ นาที พบว่า นักเรียนจำนวน ๑๒ คน อยู่ในเกณฑ์การประเมินที่น่าพอใจ โดยมีคะแนนเฉลี่ย จากร้อยละ ๓๒.๒๒ เพิ่มขึ้นเป็น คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๘.๘๙ ทั้งนี้เป็นเพราะว่านักเรียนได้รับการเรียนรู้เป็นรายบุคคล อย่างต่อเนื่อง โดยมีสื่อการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการความสนใจของนักเรียนการใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง ๑๖ หลังจากได้ทดลองใช้ชุดแบบฝึกการแต่งกาพย์ฉบัง๑๖ โดยใช้วิธีการสอนแบบBackward Design ทำให้ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ ให้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
๑.นักเรียนควรได้รับการส่งเสริม หรือได้รับการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒.นักเรียนที่มีข้อบกพร่อง หรือความก้าวหน้าช้าต้องให้เวลาการฝึกเพิ่มขึ้น
๓.นำแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ไปใช้กับสภาพปัญหาอื่น ๆที่คล้ายกัน