ชื่อเรื่อง การพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ด้วยการบริหาร
แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
ผู้ศึกษา นางสาวเฉลิมขวัญ สุปิงคลัด ตำแหน่ง ผูอํานวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะผูอํานวยการชํานาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านกันเตรียง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น 3) เพื่อศึกษาผลการนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ที่มีต่อครูผู้สอน 4) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการดำเนินกิจกรรมการใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ที่มีต่อนักเรียน และ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวน 128 คน
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและแบบทดสอบ รวมจำนวน 23 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น KR 20 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α-Coefficient) และค่าประสิทธิภาพของคู่มือ E1/E2
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาการดำเนินกิจกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น โดยภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการวางแผนการศึกษาขอมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 5 การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ของการสร้างคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพิจารณาองค์ประกอบของคู่มือหลักสูตรท้องถิ่นและขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการสร้างคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น ตามลำดับ
2. ผลศึกษาผลการพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการยืนยันคุณภาพของคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ ต่อการนําไปใช้จัดการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ และ 3) ผลการหาประสิทธิภาพคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่าประสิทธิภาพคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.78/ 82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการศึกษาการนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ที่มีต่อครูผู้สอน พบว่า ผลการนิเทศในครั้งที่ 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และผลการนิเทศในครั้งที่ 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และการผลิตสื่อและการใช้สื่อ
4. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบการดำเนินกิจกรรมการใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น ที่มีต่อนักเรียน พบว่า
4.1 ด้านทักษะปฏิติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบของศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ก่อนการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ แต่หลังการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4.2 ด้านผลงานศิลปะในรูปแบบของศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ก่อนการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ แต่หลังการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4.3 ด้านเจตคติที่มีต่อการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ก่อนการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีเจตคติที่ไม่ดี แต่หลังการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีเจตคติดี
4.4 ด้านความตระหนักในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ก่อนการเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน พบว่า
5.1 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5.2 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.00 มีพฤติกรรมด้านความใฝ่เรียนรู้ เท่ากันกับด้านความมีจิตสาธารณะ รองลงไปร้อยละ 84.00 มีพฤติกรรมความมีวินัย และลำดับสุดท้ายด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน ร้อยละ 80.00 ตามลำดับ
5.3 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่นพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด
5.6 ความพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อครูผู้สอนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมาก
5.7 ความพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้คู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ โรงเรียนบ้านบึง-เบาะอุ่น พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมาก