ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดคู้บอน
(วัฒนานันท์อุทิศ) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ผู้ศึกษา นางจันทนา ชินนิวัฒน์
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือ อ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขัน ทางการค้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ที่โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 5 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 174 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 ภาษีและการแข่งขันทางการค้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน
2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้าจำนวน 7 เรื่อง ได้แก่
เล่มที่ 1 เรื่อง เรื่อง ภาษีคืออะไร เล่มที่ 2 เรื่อง ภาษีทางตรง เล่มที่ 3 เรื่อง ภาษีทางอ้อม
เล่มที่ 4 เรื่อง เสียภาษีมีแต่ได้ เล่มที่ 5 เรื่อง รัฐบาลจัดให้ เล่มที่ 6 เรื่อง การแข่งขันทางการค้า เล่มที่ 7 เรื่อง ผลจากการแข่งขันทางการค้า
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 ภาษีและการแข่งขันทางการค้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.50-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .70
4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่าน ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
หาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1/E2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนหลังเรียน โดยใช้ ttest
(Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 88.40/88.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ภาษีและการแข่งขันทางการค้า
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด
ภาษีและการแข่งขันทางการค้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x̄ = 2.69)
ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้มีสื่อนวัตกรรมประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่เป็นการสร้างหนังสือ อ่านเพิ่มเติมในกลุ่มสาระอื่น ๆ สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้นได้เป็นอย่างดี