ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
ผู้วิจัย ปภาดา เทียมกลิ่นทอง
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนกระทิง-ศีรษะช้าง (พุทธประชานุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pre-test, Post-test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกพัฒนาทักษะกาอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด (E1/E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.06/87.02
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและ
เขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด