บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านบริบทเพื่อประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 250 คน จำแนกเป็น ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 179 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 52 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (โดยไม่นับรวมผู้บริหารและตัวแทนครู) จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกณฑ์การประเมินที่กำหนดขึ้นผ่านความเห็นชอบ และหาคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ด้านบริบท (Context evaluation) พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64)
2. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) พบว่ามีความเพียงพอ เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69)
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) พบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65)
4. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ด้านผลผลิต (Product evaluation) ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79)
5. ผลการประเมินสรุปว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดช้างนอน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69)
6. การประเมินผลผลิต ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ ผลการประเมินพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินโครงการ ที่พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โรงเรียนวัดช้างนอนควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัดไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
1. อธิบายทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการในด้านต่างๆให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลอย่างชัดเจน
2. มีแผนการนิเทศ โครงการที่ชัดเจน มีปฏิทินปฏิบัติกิจกรรม ควบคู่กับการนิเทศ
3. ควรมีการประสานกับผู้ปกครอง ชุมชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นใกล้เคียงให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม และจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียนในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการนี้ในทุกปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับสภาพกาลเวลา ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนวทางแก่โครงการอื่นๆ ต่อไป
2. ควรประเมินเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อโครงการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมผลกระทบที่ตามมา
3. ควรศึกษาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีอิทธิพลกับตัวชี้วัดที่มีอยู่ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น