เรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียนบ้านไร่เสธ์ โดยใช้ RAISE Model
ชื่อผู้ศึกษา นายชิตวีร์ มองเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่เสธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านไร่เสธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 โดยใช้ RAISE Model ซึ่งมีผลการพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ ดังนี้
1.ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2564 รายวิชา
ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ
2.ผลเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ประจำปีการศึกษา
2563-2564 พบว่าในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานศึกษาได้จัดให้มีการพัฒนาส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและพัฒนาด้วยกิจกรรม/โครงการต่างๆ เช่น โครงการอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง กิจกรรมจัดหา/ ผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรม กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมสืบค้นความรู้เนื่องในวันอาเซียน อีกทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน ฟัง พูด เขียน การตอบคำถาม การสื่อสารและการคิดคำนวณ โดยไม่จำกัดความรู้เพียงแค่ในห้องเรียน เท่านั้น ครูผู้สอนได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนโดยการบูรณาการการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นักเรียนมีทักษะ แนวคิดบูรณาการเชื่อมโยงบนพื้นฐานของความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและแนวทางและการแก้ปัญหาและทักษะที่จำเป็นในอนาคต มีการจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ฯลฯ เป็นต้น จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จากการสืบค้นข้อมูลที่หลากหลายผ่านสื่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทางโรงเรียนได้จัดบริการอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน เช่น บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายครอบคลุมพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียน ห้องสมุด คอมพิวเตอร์และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียนที่นักเรียนสามารถเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและนำเสนอผลงานอย่างทั่วถึง นอกจากนี้โรงเรียนมีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีการจัดทำกิจกรรม/โครงการ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามเป้าหมาย โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของโรงเรียน เช่นโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การติวเข้ม O-NET จากครู 4 กลุ่มสาระหลัก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพ โดยทางโรงเรียนจัดกิจกรรมที่ตอบสนองในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ คือจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพและกิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสถานศึกษาได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและรักท้องถิ่น มีทักษะในการใช้ชีวิตตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักปรับตัวและอยู่ร่วมกัน ในสังคมที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมประสบการณ์จริง เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีต่อนักเรียน เช่นกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา กิจกรรมอาสาพัฒนาสถานที่สำคัญทางศาสนา โรงเรียน ชุมชน กิจกรรมสะอาดทุกที่บรรยากาศดีที่ไร่เสธ์ กิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน การอบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำสัปดาห์ อีกทั้งได้มีการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อติดตามนักเรียนในความดูแลของครูที่ปรึกษา ดูแลช่วยเหลือนักเรียนจนสำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับ
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ในระดับที่เหมาะสม สามารถเขียนสื่อสารโต้ตอบได้ นักเรียนรู้จักวางแผนและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักวิถีประชาธิปไตย กล้าแสดงออกในทางที่ดี แสดงความคิดเห็นและวิพากย์ได้อย่างสร้างสรรค์สามารถ แก้ปัญหาและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน/สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เป็นผู้มีทักษะในการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อเทคโนโลยี รวมทั้งแยกแยะความจำเป็น ความสำคัญ รู้เท่าทัน สื่อข้อมูลข่าวสารในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจในทักษะต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างต่อเนื่อง ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ของผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สูงขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา และเมื่อจบปีการศึกษา นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในระดับสูงขึ้นและเลือกเหมาะสมกับตนเอง
จากกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษานั้น สถานศึกษามีโครงการพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทางการบริหารจัดการด้านการศึกษา โดยใช้ดำเนินการวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ตลอดจนผลการจัดการศึกษาในปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยอาศัยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลการนิเทศติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาและจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการมอบนโยบาย สนับสนุนงบประมาณ สถานที่และการประสานงานต่างๆ ที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับคณะครูในการดำเนินการตามโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพผู้เรียน นอกจากนี้ผู้บริหารจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่เป็นประจำทั้งด้านสายการสอน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบด้านงานพิเศษ สนับสนุนให้ครูและนักเรียนได้รับรางวัลที่เกิดจากความสามารถของครูและนักเรียน ทั้งระดับสหวิทยาเขต เขตพื้นที่ จังหวัดและประเทศ มีการปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยมีคำสั่งแต่งตั้ง หัวหน้ากลุ่มบริหาร หัวหน้าระดับและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบ อีกทั้งจัดหาทรัพยากร งบประมาณ มอบหมายงาน ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงาน/โครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งอาศัยการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลงานและสรุปผลการดำเนินงานโดยมีการสำรวจความพึงพอใจ ผลการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งสถานศึกษามีการประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน ในสถานศึกษาได้สร้างภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ภาคส่วนราชการประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษา โดยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในรูปแบบ บรม (บ้าน โรงเรียน มัสยิด) จนประสบผลสำเร็จในการระดมสรรพกำลัง การระดมสมองจนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางด้านคุณภาพของสถานศึกษา ดังแผนภูมิดังนี้
จากแผนภูมิเป็นผลการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาร่วมกันกับโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้สถานศึกษามีการจัดระบบบริหาร มีเป้าหมายชัดเจน บุคลากรทุกฝ่าย ในสถานศึกษามีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ นอกจากนี้สถานศึกษาใช้ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ การประชุมโดยใช้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมระดมสมอง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา นโยบายการศึกษาที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการกำกับนิเทศติดตาม ดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในการบริหารจัดการด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการ ประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้น/ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้มีการออกแบบการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรมที่ เหมาะสม นำมาใช้กับผู้เรียนโดยแผนการจัดการเรียนรู้เป็นแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการสอนตามแผนฯ มีการวัดและประเมินผล การประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง และจบหน่วยการเรียนรู้ ผลงานของนักเรียน (ชิ้นงาน) นำส่งครูเพื่อประเมินปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน โดยเฉพาะแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นด้านความรู้ ทักษะ / กระบวนการด้านคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ คือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และด้านสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี วัดผลประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน กลางภาคเรียน ปลายภาคเรียน เพื่อตัดสินผลการเรียนและโดยเฉพาะบันทึกหลังการสอน จะได้พบปัญหา และรีบหาทาง / แนวทาง แก้ไข ปรับปรุง เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป โดยการบันทึกหลังสอน เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการเรียนการสอนต่อ 1 หน่วยการเรียน ประเมินผลโดยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีปัญหานักเรียนไม่ผ่าน แก้ปัญหาโดยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนตามเสนอฝ่ายบริหารตามขั้นตอน นอกจากมีแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว โรงเรียนมีชั่วโมงแนะแนว ให้คำปรึกษานักเรียนและจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นปัจจุบัน ครู ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี อุทิศเวลา เสียสละ จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่มอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ มีการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล แยกนักเรียนเป็นกลุ่มเก่ง อ่อน ปานกลาง เพื่อจัดแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการออกแบบการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับกลุ่มของนักเรียนเพื่อการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำคำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค การส่งเสริมให้ครูใช้ผลการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง มีโครงการที่ส่งเสริมให้ครูทุกกลุ่มสาระได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ ประสบการณ์และความถนัด มีสวัสดิการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่คณะครู ครูนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการประชาธิปไตยในการทำงานและปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติตนตามแนวทางวิถีพุทธ
ผลจากการบริหารโดยใช้ RAISE Model ทำให้การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลทั้งระดับอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้แก่นักเรียนกลุ่มปานกลาง เก่ง และมีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินผลจากสภาพความเป็นจริง มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ครูสอนเต็มเวลา เต็มความสามารถ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นำหลักประชาธิปไตยและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติหน้าที่ เป็นแนวทางในการทำงานทำให้ครูมีวิทยฐานะสูงขึ้นและได้รับรางวัลต่างๆ อาทิเช่น ผลงานคุรุชนคนคุณธรรม ด้านครูประจำปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครู ทุกคนได้รับการตรวจประเมินพร้อมทั้งให้คำแนะนำจากคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลของเขตพื้นที่การศึกษา