บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียง ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านท่าเสา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
ปีการศึกษา : 2564
ผู้รายงาน : สุรีย์พร เฮงฮะ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านท่าเสา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียง ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านท่าเสา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมิน ความพร้อมด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ตามแนวคิดของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิม และคณะ (Daneil L. Stufflebeam, 1967)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเสา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607 - 610) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ โดยใช้การคำนวณค่า IOC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การแปลผลและการนำเสนอข้อมูลจัดในรูปแบบตารางประกอบการบรรยายเป็นความเรียง
ผลการประเมินพบว่า
การดำเนินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอพียง ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านท่าเสาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบาย และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55)
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และ ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช่ในการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55)
3. ด้านกระบวนการ (Process) ในการดำเนินงานโครงการ กิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56)
4. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ตามความคิดเห็นของช้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเสา
4.1 ผลผลิตด้านคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนรู้จักการใช้สิ่งของ เครื่องใช้ พลังงาน และเงินอย่างประหยัด รองลงมา นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ และการทำงาน และนักเรียนมีวินัยในตนเองและปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลผลิตด้านความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมและผลผลิตกิจกรรมที่ 1 อยู่ดีตามวิถีพอเพียง รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมและผลผลิตกิจกรรม ที่ 7 หนึ่งห้องเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ และประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมโครงการ/กิจกรรม ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด