บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน : นางศุภลักษณ์ แก่นแก้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยาฐานะ ผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา
2563 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation)
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation)
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation)
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
ได้แก่
4.1 ผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการตามโครงการ
4.2 ผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา
2563
4.4
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเ
รียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน
ผู้ปกครอง จำนวน 155 คน นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 63 คน
และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
ข
จำนวน 61 คน ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
ได้แก่ ฉบับที่ 1. แบบประเมินสภาพแวดล้อม จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้า
จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ จำนวน 79 ข้อ ฉบับที่ 4
แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่ ฉบับที่ 4.1
แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการ จำนวน 53 ข้อ ฉบับที่ 4.2
แบบประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา
2563 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน จำนวน 44 ข้อ ฉบับที่ 4.3
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 ข้อ และฉบับที่ 4.4
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 ในด้านสภาพแวดล้อม(Context) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50
ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50 ขึ้นไป
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 ในด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.54 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50 ขึ้นไป
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 ในด้านกระบวนการ(Process) ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50
ขึ้นไป
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 ในด้านผลผลิต(Product) ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็น พบว่า
4.1 ผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการตามโครงการ
ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ0.47
ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50 ขึ้นไป
ค
4.2
ผลการประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50
ขึ้นไป
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563
ในภาพรวมรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย  3.50 ขึ้นไป
4.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเขาพระทอง ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 
3.50 ขึ้นไป