ชื่อวิจัย:รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ
ชื่อผู้วิจัย:นายปิลันธน์ สระแก้ว
ชื่อหน่วยงาน:โรงเรียนบ้านดอนสาราญ
ปีที่พิมพ์:2563 จำนวนหน้ำ 818 หน้า
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ 3) นำรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ ไปใช้ และ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : R1) ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D1) ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ (Implement : R2) และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ (Evaluation : D2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นแบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 เป็นแบบประเมินความสอดคล้องความหมาะสม ความเป็นไปได้ ระยะที่ 3 เป็นรูปแบบและเอกสารประกอบ ระยะที่ 4 เป็นแบบวัดความรู้ครู แบบประเมินความสามารถของนักเรียน แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง แบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบ เครื่องมือทั้ง 4 ระยะ ผ่านการหาค่า IOC ค่าความความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และทดลองหาประสิทธิภาพครั้งที่ 1-3 ผ่านการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา 2) กลุ่มครูผู้สอน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 4) กลุ่มนักเรียน และ 5) กลุ่มผู้ปกครอง ได้มาทั้งการสุ่มแบบง่าย และการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า นโยบายและเป้าหมายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความคาดหวังและต้องการพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา
2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสาราญ พบว่า รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการพัฒนาครู 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการพัฒนาครู 3) รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาครู 4) กระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาครู และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีกิจกรรมพัฒนาครู 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning) 2) การฝึกอบรม (Training) และ 3) การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย ผ่าน 4 กิจกรรม ได้แก่ เยาวชนคนเก่งสอนน้อง ห้องเรียนสร้างเกียรติยศ บทเรียนจากครูจิตอาสา หรรษากับกิจกรรมรักการอ่าน และผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน พบว่า มีความสอดคล้อง ความหมาะสม ความเป็นไปได้ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ผลการนำรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ ไปใช้ โดยใช้รูปแบบการวิจัย Pre-Experimental Design โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The one-group Pretest-Posttest Design) ตามขั้นตอนและปฏิทินที่กำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านดอนสำราญ พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) และ นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมาก นักเรียนชอบกิจกรรมที่จัดขึ้น และต้องการให้จัดอย่างต่อเนื่อง ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองรูปแบบในระดับมาก